Trade/Logistics
Hot News: CPF กวาด 4 รางวัล แคมเปญ 'ไก่ไทยจะไปอวกาศ' คว้า CMO's TOP CHOICE
http://www.tviclick.com
Home Page iClick News.com
Home
Print this webpage
Print
English Version
English
CPF กวาด 4 รางวัล แคมเปญ
'ไก่ไทยจะไปอวกาศ' คว้า CMO's TOP CHOICE
นางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดกลาง ซีพีเอฟ กล่าวว่า ขอขอบคุณทางสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ที่เล็งเห็นศักยภาพของแบรนด์ CP และ CMO's TOP CHOICE Award เป็นรางวัลที่เราภาคภูมิใจมากที่สุด เพราะแคมเปญ 'ไก่ไทยจะไปอวกาศ' ที่ได้คะแนนโหวตของนักการตลาดชั้นนำในประเทศไทย สะท้อนถึงความตั้งใจของซีพีเอฟในการยกระดับอุตสาหกรรมเนื้อไก่ไทย ก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ (Space Food Safety Standard) สามารถรับประทานได้ตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การ NASA ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นเนื้อไก่แบรนด์ CP ของไทยมีความปลอดภัยสูงสุดในระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศรับประทานได้"ความสำเร็จของรางวัลนี้ เกิดขึ้นจากหลายๆ ภาคส่วนของซีพีเอฟตั้งแต่ระบบการเลี้ยง กระบวนผลิตและแปรรูป ส่งผลให้แคมเปญนี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั้งไทยและทั่วโลกได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะอยู่ภูมิภาคใดก็รับประทานไก่ซีพีที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเหมือนกัน พร้อมทั้งมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มูลค่าการส่งออกไก่เนื้อของซีพีเอฟและพันธมิตรเพิ่มขึ้นอีกด้วย เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การตลาดที่ประสบความสำเร็จ ต้องมาจากผลิตภัณฑ์ที่ดี ฉะนั้นเราจึงยึดมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพใส่ใจต่อผู้บริโภคทุกท่าน" นางสาวอนรรฆวี กล่าว
สำหรับ แคมเปญ 'Egg-Perience' พักซอฟต์ใจ กับไข่ตุ๋น ซีพี โดยร่วมมือ กับ ZEPETO ผ่านบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น สร้างเกมบน Virtual World สามารถคว้ารางวัล Certificate Shortlist ประเภทการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี สร้างผลลัพธ์ใหม่ให้แก่ธุรกิจ (Innovations & Martech) ด้วยแอปพลิเคชั่นขวัญใจ Gen Z ที่มีฟีเจอร์แบบ Community ชวนผู้เล่นแต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ผ่านรูปถ่ายที่สามารถโพสต์ท่าได้หลายอิริยาบถ แถมยังเชื่อมโยงกับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้เข้ามาพูดคุยกันได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย
ด้าน แบรนด์ห้าดาว ในกลุ่ม บริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด ได้รับรางวัลระดับ Silver ประเภทการตลาดที่ถ่ายทอดจุดยืนของแบรนด์แก่กลุ่มเป้าหมายผ่านการสร้างประสบการณ์และการสื่อสารต่างๆ (Brand Experince & Communication) จากหนังโฆษณา '"My Parent is a Tiktoker" เมื่อพ่อแม่ฉันเป็นติ๊กต๊อกเกอร์' นำพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นติ๊กต๊อกของคนรุ่นใหม่ มาเชื่อมกับรุ่นพ่อแม่ ปูย่าตายาย ในการสื่อสารข้อความแทนใจ โดยมีเมนูห้าดาวเป็นมื้อพิเศษ ให้หวนกลับมาใช้เวลาแห่งความสุขกับครอบครัวอีกครั้ง
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย อร่อย และดีต่อสุขภาพ ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม ใส่ใจทุกขั้นตอน ผ่านกระบวนการผลิตที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งสร้างสรรค์แคมเปญที่ตอบโจทย์เทรนด์ รวมถึงหาโอกาสใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเข้าใจและเข้าถึงผู้บริโภคทุกเจนเนอเรชัน ./

Go To Lead


บริษัท พลังงานบริสุทธิ์
จัดการธุรกิจเริ่มนิ่งแล้ว
นายฉัตรพล ศรีประทุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เรารู้สึกยินดีที่ได้จัดการธุรกิจจนสถานการณ์เริ่มนิ่งแล้ว ผ่านการตัดสินใจที่ยากลำบากบางอย่าง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้กลับมาคือ กระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง เป็นบวก และการสร้างกำไรอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่มีกำไรและปรับโครงสร้างธุรกิจที่ขาดทุน เรามีธุรกิจที่ทำกำไรจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่มีผลประกอบการเป็นบวก ธุรกิจเหล่านี้รวมกันคิดเป็น 60% ของรายได้ EA และเกือบทั้งหมดของกำไรของเรา เราเริ่มต้นธุรกิจเหล่านี้แทบจะก่อนใครในประเทศไทย และการตัดสินใจที่มีวิสัยทัศน์นั้นกำลังให้ผลตอบแทนอย่างงดงาม ด้วยกระแสรายได้ที่มั่นคงและอัตรากำไรที่นำหน้าในอุตสาหกรรม"
"อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของธุรกิจเหล่านี้ได้ถูกหักล้างด้วยธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์และธุรกิจการผลิตแบตเตอรี่ของเรา ซึ่งกำลังขาดทุนและดูดซับเงินสดของเราไป หลักๆ แล้วสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ ดังนั้น ในส่วนของการปรับโครงสร้าง เราจึงหยุดธุรกิจการประกอบยานยนต์ไฟฟ้าชั่วคราว และปรับลดขนาดธุรกิจแบตเตอรี่ และการตัดสินใจทั้งสองอย่างนี้ได้ช่วยหยุดการไหลออกของเงินสดของเราได้สำเร็จ"
นายฉัตรพล กล่าวว่า "เรามองเห็นศักยภาพในการเติบโตและการทำกำไรอย่างมหาศาลสำหรับ EA ทั้งในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์และธุรกิจแบตเตอรี่ แต่เพื่อที่จะฉวยโอกาสเหล่านี้ เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของเรา ก่อนอื่นเราต้องสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้เล่นขนาดใหญ่ในตลาดโลกในภาคธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้เรามีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นและสามารถขยายตลาดไปยังนอกประเทศไทยได้ และประการที่สอง เราจำเป็นต้องใช้เงินทุนของเราให้น้อยลง ในภาคธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีเวลาจำกัดในการคืนทุน เราได้ลงมือเดินหน้าขับเคลื่อนตามกลยุทธ์นี้แล้ว ซึ่งจะทำให้เรามีความคล่องตัวและฟื้นกลับมารับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น"
ตอนนี้ EA กำลังจัดตั้งการร่วมทุนกับหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์ประเภทพิเศษรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ในการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าประเภทพิเศษ โดยบริษัทร่วมทุนนี้คือ Chengli Special Automobile Co., Ltd. ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถประเภทพิเศษมากกว่า 30,000 คัน ไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ในบันทึกข้อตกลงที่ได้ลงนามร่วมกับ EA ในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมาได้ตกลงกันว่า ยานยนต์จะถูกประกอบในโรงงานประกอบของ EA ที่มีพื้นที่ขนาด 65,000 ตารางเมตร (80 ไร่) ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยความสามารถในการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 3,000 - 9,000 คันต่อปี ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของยานยนต์ประเภทพิเศษที่ผลิต โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตในเดือนเมษายน 2568 โดยยานยนต์ไฟฟ้าที่โรงงานเราจะประกอบมีทั้ง รถพยาบาล รถขยะ และรถกระเช้า ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทพิเศษเหล่านี้จะถูกประกอบขึ้นในประเทศไทยในระดับอุตสาหกรรม การร่วมทุนนี้คาดว่าจะสร้างรายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับรายได้ปีแรกของการดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2569EA ยังได้รายงานการลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อจัดตั้งการร่วมทุนกับหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับแนวหน้าของประเทศจีน ซึ่งมีฐานลูกค้าสำคัญอยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป โดยการร่วมทุนนี้จะเป็นการผลิตแบตเตอรี่
ลิเทียมไอออน และจะเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่แรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แบตเตอรี่เหล่านี้จะถูกใช้งานหลักๆ ในด้านระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ การผลิตจะดำเนินการที่พื้นที่ผลิตแบตเตอรี่ของ EA ขนาด 80,000 ตารางเมตร (91 ไร่) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และจะขยายกำลังการผลิตจาก 2 กิกะวัตต์ในปัจจุบันไปเป็น 4 กิกะวัตต์ การลงนามข้อตกลงการร่วมทุนคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยจะเริ่มการจัดเตรียมสถานที่และเครื่องจักรการผลิตในปี 2568
นายฉัตรพลกล่าวเพิ่มเติมว่า "เรามีความยินดีที่ได้รับความไว้วางใจอย่างท่วมท้นในแผนธุรกิจที่นำเสนอ โดยได้รับการโหวตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น ถึง 99.9% ในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวานนี้ ผมขอขอบคุณผู้ถือหุ้นทุกท่านที่เชื่อมั่นในการเดินหน้าตามแผนเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่”“เงินทุนใหม่ที่ได้รับจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะทางการเงินของ EA และช่วยให้เราสามารถคว้าโอกาสที่น่าสนใจต่างๆ ในอนาคตได้ เมื่อเราเดินหน้าเข้าสู่ก้าวของการฟื้นตัว” นายฉัตรพลกล่าว
นายวสุ กลมเกลี้ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) (EA) กล่าวว่า “เงินทุนที่จะได้จากการเพิ่มทุนที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ในวันที่ 7 มกราคม หลักๆ จะถูกนำไปใช้ในการชำระคืนเงินกู้ธนาคารและใช้ในการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด เราหวังว่าจะลดหนี้สินจาก 58,664 ล้านบาท ลงเหลือ 52,004 ล้านบาท ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยรายปีลงได้ประมาณ 300 ล้านบาทแล้ว จะช่วยปรับปรุงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้ดีขึ้นด้วย และเป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพทางการเงินและความน่าเชื่อถือของบริษัท รวมทั้งจะช่วยในส่วนของเงินกู้ให้ได้รับเงื่อนไขที่ดีขึ้นส่งผลให้เราประหยัดดอกเบี้ยมากขึ้นด้วย ระยะเวลาในการสมัครเข้าร่วมการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน คือระหว่างวันที่ 17 - 23 มกราคม 2568จากรายงานล่าสุดของ EA เปิดเผยว่า กระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 เป็นบวกดีมากอยู่ที่ 5,610 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกระแสเงินสดที่เดิมติดลบ 1,726 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และสูงกว่าเกือบสามเท่าจากปีก่อนหน้านี้ กำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 1,852 ล้านบาท และ EBITDA อยู่ที่ 6,183 ล้านบาท จากรายได้ 14,397 ล้านบาท

Go To Lead


[ENGLISH] 
  --  
iClickNews.com