|
LHMH 'ผุด'โรงแรม 5 ดาว รับไฮซีซัน
แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล เปิดตัว โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สุรวงศ์ (Grande Centre Point Surawong Bangkok) โรงแรมระดับ 5 ดาวสุดหรู แลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางย่านสุรวงศ์ เผยมูลค่าการลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท เจาะตลาดต่างชาติ
นายภาคิน เอียงผาสุข ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สุรวงศ์ กรุงเทพฯ เปิดเผยกับ หนังสือพิมพ์ ไอคลิกนิวส์ดอทคอม www.iclicknews.com ว่า จุดเด่นของโรงแรม คือ โลเคชั่น ทำเลทองที่อยู่ตรงกลางของย่านธุรกิจการค้าหลักของกรุงเทพฯ ทั้งย่านสุรวงศ์ บางรัก เจริญกรุง สีลม สาทร และเชื่อมต่อเยาวราช อีกทั้งยังโดดเด่นด้วยวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ อย่างบางรัก เจริญกรุง ทรงวาด โรงแรมแห่งนี้ออกแบบเพื่อความสะดวกสบายของผู้เข้าพัก ด้วยคอนเซ็ปต์ Immerse in Bangkok soul, where culture meets comfort เพื่อสร้างประสบการณ์การเข้าพักที่ผ่อนคลาย ในย่านที่เชื่อม Old Town และ Commercial ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ทั้งภายในห้องพัก และส่วน Facilities การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านกลยุทธ์การตลาดแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สุรวงศ์ กรุงเทพฯ สาขาที่ 7 เน้นออนไลน์ ตามด้วยออฟไลน์ นักท่องเที่ยวเข้ามาจองห้องพักผ่านระบบออนไลน์ สัดส่วน 80 % ส่วนออฟไลน์ประมาณ 20 % เท่านั้น
"ลูกค้าหลักของเรา คือ กลุ่มเอเชีย ได้แก่ เกาหลี จีน เป็นต้น ตามด้วยยุโรป และยังมีกลุ่มคนไทย ที่เข้ามาใช้บริการอื่น ๆ ของโรงแรม อย่างห้องประชุมสัมมนา ห้องจัดเลี้ยง หรือห้องอาหาร ซึ่งเราให้ความสำคัญไม่แพ้ห้องพักเช่นกัน ปีนี้เราเดินหน้าขยายธุรกิจและรายได้ด้านประชุม โดยพัฒนาส่วนของพื้นที่ประชุมและจัดเลี้ยงโดยเพิ่มเทคโนโลยีสำหรับจัดประชุมเต็มรูปแบบ ทั้งการใช้จอ LED เชื่อว่าด้วยจุดแข็งในด้านทำเล ของทุกสาขา กับการพัฒนาด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการนี้ จะทำให้เราขยายฐานลูกค้าไปได้ทุกกลุ่ม นายภาคิน กล่าว
ส่วนกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้า บริษัทได้เน้นสร้างจุดขายใหม่ ๆ ที่ทำให้การเข้าพักคุ้มค่า สะดวกสบาย และสมบูรณ์ขึ้น เริ่มตั้งแต่การพัฒนาระบบสำรองห้องพักที่รองรับการจ่ายเงินทุกรูปแบบ ด้านเทคโนโลยีในห้องพัก เช่น การเปลี่ยนโทรทัศน์ เป็น Smart TV ทั้งหมด ฯลฯ ด้าน Facilities ทุกโรงแรมมีการปรับปรุงพื้นที่โดยเพิ่มพื้นที่ Games Room ซึ่งให้บริการทั้ง เกมส์อาร์เคด เกมส์ เพลสเตชั่น และบอร์ดเกมส์ ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวปัจจุบัน รวมไปถึงพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางให้ใหม่ และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับโรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สุรวงศ์ กรุงเทพฯ ใช้งบลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท ให้บริการห้องพักจำนวน 399 ห้อง โดยเริ่มตั้งแต่ห้องดีลักซ์ (Deluxe) ขนาดเริ่มต้น 44 ตร.ม. ได้ทิวทัศน์เมืองทุกห้องพัก ห้องประชุมขนาดเริ่มต้น 53 ถึง 262 ตร.ม. ห้องอาหารจีน ฮั้ว ห้องอาหารรูฟทอป บางรักกริลล์ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส และเกมส์รูม ปัจจุบันโรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด เปิดดำเนินการทั้งสิ้น ณ ปัจจุบันถึง 6 สาขา ได้แก่ โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เพลินจิต โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ราชดำริ โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินอล 21โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สุขุมวิท 55 โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ พัทยา โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สเปซ พัทยา ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อไตรมาส 3 ในปี 2565โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สุรวงศ์ กรุงเทพฯ เปิดตัว 25 พฤศจิกายนนี้
นางสุวรรณา พุทธประสาท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด กล่าวว่า ด้านทิศทางโดยรวมของธุรกิจ บริษัทฯ ยังมีมุมมองบวกต่อการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรม ซึ่งดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี แม้ว่ายังมีปัจจัยท้าทายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังเชื่อว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High season)
นายกิตติ วรบรรพต กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด บริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างใน 3 โลเคชั่นเป็นโรงแรมระดับลักชัวรี โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ลุมพินี กรุงเทพฯ และมิกซ์ยูส ในไตรมาสแรกของปี 2568 มูลค่าการลงทุนราว 4,500 ล้านบาท โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สาขาใหม่ที่ราชดำริ ไตรมาสแรกของปี 2569 มูลค่าการลงทุนราว 5,100 ล้านบาท โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สาขาที่ 3 ที่พัทยา ในปี 2570 มูลค่าการลงทุนราว 4,400 ล้านบาท โรงแรมพัทยา แห่งที่ 4 มูลค่าการลงทุน 4,000 5,000 ล้านบาท LHHOTEL ลงทุนโรงแรมพัทยา ดันพอร์ต AUM โตเท่าตัวแตะ 2 หมื่นล้าน
Go To Lead
|
ทีเส็บ 'ชู'เชียงใหม่ ไมซ์ซิตี้
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า งานเทศกาลนานาชาติเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศในปี 2567 โดยใช้ ต้นทุน ทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ หรือ Soft Power (ซอฟต์พาวเวอร์) เป็นตัวสร้างมูลค่า ให้ประสบการณ์ที่มีอัตลักษณ์ มีคุณค่า เป็นจุดขายใหม่ของไมซ์ไทย โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วน ซึ่งที่ผ่านมาทีเส็บสนับสนุนงานเทศกาลกว่า 100 งาน สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้ประเทศกว่า 50,000 ล้านบาท
เชียงใหม่ จะเป็นเมืองนำร่องในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาไมซ์ซิตี้ให้ก้าวสู่การเป็นเมืองแห่งเทศกาลระดับโลกภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดงาน 12 เดือน 12 แนวคิดเทศกาล (12 Months 12 Festival Themes) ซึ่งเป็นกรอบแนวทางทำการตลาดและประชาสัมพันธ์งานเทศกาลของประเทศไทย มุ่งสร้างการรับรู้และจดจำแก่นักเดินทางที่เข้าร่วมงานจากทั่วโลก ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ต่อยอดจัดทำเส้นทางสายไมซ์ รวมถึงการพัฒนาสินค้าบริการและกิจกรรมส่งเสริมการขายที่สอดคล้องกับแนวคิดการจัดงานในแต่ละเดือน เพื่อให้นักเดินทางไมซ์ทั้งในและต่างประเทศสามารถวางแผนในการเข้าร่วมงานเทศกาล หรืองานแสดงสินค้า
รวมไปถึงการจัดประชุมองค์กร การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล และกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับช่วงเทศกาลและกิจกรรมไมซ์สำคัญของเมือง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ กระจายเม็ดเงินให้กับพื้นที่ผ่านการจัดงานตลอดปี และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดได้มากยิ่งขึ้น "ทีเส็บจึงร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่วางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกันและต่อยอดยกระดับงานเทศกาลของจังหวัดสู่งานเทศกาลระดับโลก ประเดิมงานแรกด้วย งานเทศกาลยี่เป็ง ซึ่งเป็นเทศกาลดั้งเดิมของชาวล้านนา ผลักดันให้ยกระดับสู่การเป็นงานเทศกาลแห่งแสงไฟระดับนานาชาติ (Light Festival)" นายจิรุตถ์ กล่าว
โดยสนับสนุนด้านการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนางานเทศกาลของประเทศไทย และงานเทศกาลยี่เป็ง รวมถึงสนับสนุนงบประมาณการจัดงานเทศกาลยี่เป็งในกิจกรรม Yi-Peng Night Tour และอำนวยความสะดวกด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานในจังหวัดเชียงใหม่ การจัดงานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ 2566 คาดว่าจะดึงนักเดินทางและนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้ถึง 62,500 คน เป็นชาวไทยกว่า 50,000 คน และชาวต่างชาติกว่า 12,500 คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการจัดงานถึง 375 ล้านบาท
Go To Lead
|
[ENGLISH]
|