|
จับตา! อัตราเคลมประกันสุขภาพพุ่ง
สมาคมประกันชีวิตไทย 'ชี้แจง' แนวปฏิบัติประกันสุขภาพ ส่วนร่วมจ่าย (Copayment)ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal)
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ปี 2567 ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) สูงถึง 15% (อ้างอิงจาก WTW) ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ การเข้าสู่สังคมสูงวัย โรคอุบัติใหม่ มลพิษทางอากาศ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ และโครงสร้างค่ารักษาพยาบาล โดยการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่งผลให้ อัตราการเคลมประกันสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ภาคธุรกิจประกันภัยต้องวางแผนรับมืออย่างรอบคอบ โดยเฉพาะจากสถานการณ์ปัจจุบันอัตราการเคลมประกันสุขภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากโรคเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไป
อีกทั้ง ภายใต้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ "New Health Standard" ที่บังคับใช้ไปเมื่อปี 2564 ซึ่งบริษัทประกันชีวิตพร้อมที่จะดูแลผู้เอาประกันภัยอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้เอาประกันภัย ซึ่งส่งผลให้เบี้ยประกันภัยที่เคยคำนวณไว้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ระบบประกันสุขภาพได้รับผลกระทบโดยตรง นำไปสู่การปรับเบี้ยประกันภัยทั้งพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) จนทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงประกันสุขภาพได้ ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ ดังนั้น ภาคธุรกิจประกันภัยจึงต้องวางแผนรับมือกับความท้าทายนี้อย่างรอบคอบ เพื่อให้ประกันสุขภาพยังคงเป็นเครื่องมือช่วยลดความเสี่ยง และแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ภาคธุรกิจประกันภัยจึงได้นำส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ภายใต้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ "New Health Standard" มาใช้เป็นเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) เพื่อลดการ เคลมจากการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่เกินความจำเป็นทางการแพทย์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยของทั้งพอร์ตโพลิโอ (Portfolio) โดยส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับผู้เอาประกันภัย ภายใต้การบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์และความจำเป็นทางการแพทย์ โดยไม่นับรวมผ่าตัดใหญ่หรือโรคร้ายแรง
สำหรับเกณฑ์การเข้าเงื่อนไขแนวปฏิบัติประกันสุขภาพส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 การเคลมสำหรับโรคที่ไม่รุนแรง หรืออาการที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล การเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple diseases) หรืออาการที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล โดยเบิกเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และอัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันภัยสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
กรณีที่ 2 การเคลมสำหรับโรคทั่วไปแต่ไม่นับรวมการผ่าตัดใหญ่และโรคร้ายแรง โดยเบิกเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และอัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป กรณีที่ 3 หากเข้าเงื่อนไขทั้งในกรณีที่ 1 และ กรณีที่ 2 จะต้องร่วมจ่าย 50% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
ซึ่งเมื่อผู้เอาประกันภัย เข้าเงื่อนไขส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในปีต่ออายุถัดไปแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมจ่าย 30% หรือ 50% ตามสัดส่วนที่กำหนดในค่ารักษาพยาบาล แต่หากการเคลมมีการปรับตัวลดลงและไม่เข้าเงื่อนไขการมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) บริษัทประกันภัยจะพิจารณายกเลิกการมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) กรมธรรม์ดังกล่าวจะกลับสู่สถานะปกติได้เช่นเดิมในปีถัดไป
อย่างไรก็ตาม สมาคมประกันชีวิตไทยแนะนำให้ประชาชนศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เอาประกันภัย ประกันสุขภาพยังคงเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาลได้ดี เพราะในทางปฏิบัติแล้ว ส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย เนื่องจากเงื่อนไขดังกล่าวมีลำดับ ขั้นตอน การนับ การพิจารณา ซึ่งเป็นตัวกรองหลายชั้น โดยบริษัทจะแจ้งรายละเอียดในหนังสือแจ้งเตือนการต่ออายุสัญญาประกันสุขภาพ
Go To Lead
|
พรูเด็นเชียล ประเทศไทย จัดงานมอบรางวัล Prudential Hospital Award 2024
นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ได้จัดพิธีมอบรางวัล Prudential Hospital Award 2024 ซึ่งการมอบรางวัลฯครั้งนี้ เพื่อเป็นการขอบคุณแก่บุคลากรด้านการแพทย์ตลอดจนโรงพยาบาลพันธมิตร ที่มุ่งมั่นดูแลและให้บริการลูกค้าด้วยความเป็นเลิศ ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตอกย้ำความสัมพันธ์อันดีระหว่างพรูเด็นเชียลฯ และ โรงพยาบาลพันธมิตร
สำหรับพิธีมอบรางวัล Prudential Hospital Award 2024 คือ การมอบรางวัลให้แก่โรงพยาบาลพันธมิตรของ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ที่ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ลูกค้าของ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย โดยมีโรงพยาบาลในเครือข่ายทั่วประเทศกว่า 320 แห่ง ที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการประกวดการจัดอันดับในช่วงการให้บริการ นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2024 ซึ่งการจัดอันดับและให้รางวัลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท รวมทั้งสิ้น 9 รางวัล ดังนี้:
1.รางวัลการให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการดูแลลูกค้า และตัวแทนยอดเยี่ยม (Best Healthcare Partner Award):
รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง (Gold): โรงพยาบาลพระราม 9
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง (Silver): โรงพยาบาลนวมินทร์ 9
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง (Bronze): โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3
2.รางวัลการให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการให้บริการสินไหมประกันสุขภาพ ระหว่างองค์กรยอดเยี่ยม (Best Quality Management Award):
รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง (Gold): โรงพยาบาลพญาไท 2
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง (Silver): โรงพยาบาลมหาชัย 2
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง (Bronze): โรงพยาบาลธนบุรี
3.รางวัลด้านการให้ประสบการณ์ด้านการบริการทางสุขภาพแก่ลูกค้ายอดเยี่ยม (Best Service Management Award):
รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง (Gold): โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง (Silver): โรงพยาบาลวิภาวดี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง (Bronze): โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
สำหรับ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เรานำแนวคิด ลูกค้าคือเข็มทิศนำทาง (Customer is Our Compass) มาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเปิดรับฟังความต้องการของลูกค้าและมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า ดังนั้นการเสริมสร้างมาตรฐานการให้บริการด้านการรักษา และยกระดับมาตรฐานของโรงพยาบาลพันธมิตรจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดการบริการให้มีบริการที่ดีในระดับสูงเพื่อลูกค้าของเราให้มีประสบการณ์ด้านการบริการทางสุขภาพที่ดี นายบัณฑิต กล่าวเสริม
นอกจากนี้ การมอบรางวัลในงาน Prudential Hospital Award 2024 ยังเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพที่พรูเด็นเชียลฯ ร่วมกับโรงพยาบาลพันธมิตร เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานและภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลพันธมิตรให้มีการบริการที่ดีเยี่ยม โดยรางวัลนี้รับรองว่าโรงพยาบาลที่ได้รับรางวัลมีการดูแลลูกค้าและตัวแทนประกันชีวิต รวมถึงการบริการสินไหมประกันสุขภาพระหว่างองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมอบประสบการณ์ด้านการบริการสุขภาพที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า./
Go To Lead
|
กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต คว้า 2 รางวัลเกียรติยศจากเวที 5th Emerging Asia Insurance Conclave & Awards 2024
บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติด้วยการคว้า 2 รางวัลอันทรงเกียรติจากเวที
5th Emerging Asia Insurance Conclave & Awards 2024 นำโดย คุณพงศ์ธร วัธนนัย Head of Talent Acquisition & Management and Culture (คนซ้าย) เข้ารับรางวัลสาขา Women in Insurance Leadership in Thailand และ คุณณภัทร ติระอาภรณ์ Head of Digital Product and Innovation (คนขวา) เข้ารับรางวัลสาขา Best Innovations Led by Technology and Insurtech โดยทั้ง 2 รางวัลจัดขึ้นเพื่อยกย่ององค์กรที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย โดยคณะกรรมการจะพิจารณาจากผลงานด้านนวัตกรรม การพัฒนาบริการ และการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ
โดยรางวัลทั้งสองนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ในด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาการให้บริการด้านประกันชีวิต เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล พร้อมการพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น สอดคล้องกับคำมั่นสัญญา ลูกค้าเป็นที่หนึ่ง นอกจากนี้รางวัลอีก 1 สาขาที่ได้รับ สะท้อนถึงการยกย่ององค์กรที่มีผู้บริหารผู้หญิง และเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมของผู้นำสตรีในบริษัทฯ ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ
สำหรับท่านที่สนใจร่วมงานกับ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต สามารถติดต่อได้ที่ โทร 02-056-3513-15 หรือ https://www.krungthai-axa.co.th/th/career
Go To Lead
|
อลิอันซ์ 'เผย'คนเจนเอ็กซ์ต้องออมเงินให้มากขึ้น
นายลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของกลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยว่า คนเจนเอ็กซ์จำเป็นต้องออมเงินให้มากขึ้นเพื่อให้มีมาตรฐานการครองชีพตามที่ต้องการในวัยชรา แต่เราต้องไม่มองสมการเพียงด้านเดียว ซึ่งก็คือการออมของครัวเรือน เราต้องคิดเกี่ยวกับความมั่นคงด้านบำนาญและการพัฒนาตลาดทุนไปพร้อมกัน เงินออมเพื่อการเกษียณต้องได้รับการลงทุนอย่างมีกำไรในการเติบโตและนวัตกรรมในอนาคต นี่เป็นกุญแจสำคัญในการเอาชนะการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร (รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ) ยุโรปยังคงมีข้อบกพร่องอยู่มากในด้านนี้"ความแตกต่างที่สูงมากในเอเชีย ตลาด 15 แห่งในเอเชีย ที่นำมาวิเคราะห์ในรายงานนี้มีเรื่องที่เหมือนกันคือ เป็นสังคมที่กำลังเข้าสู่วัยชราอย่างรวดเร็ว อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจาก 19% เป็น 43% ในอีก 25 ปีข้างหน้า แม้ว่าจะมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในระดับสมบูรณ์ตั้งแต่ 14% ในลาวไปจนถึง 95% ในฮ่องกงในปี 2593 อัตราส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าสองเท่าภายในหนึ่งรุ่นของประชากรในทุกประเทศ (ยกเว้นญี่ปุ่นที่เป็นสังคมสูงวัยอยู่แล้ว)
จากสถานการณ์นี้ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำให้ระบบบำนาญของเอเชียพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากร คะแนนรวมเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 3.9 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นในการปฏิรูปแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยในตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือเกาหลีใต้ การเสริมสร้างความยั่งยืนในระยะยาวของระบบบำนาญมีความสำคัญมากขึ้น ในตลาดเกิดใหม่ที่ยังมีประชากรค่อนข้างหนุ่มสาว เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย หรือลาว ผู้กำหนดนโยบายเผชิญกับความท้าทายในการปรับปรุงความเพียงพอของระบบบำนาญ ซึ่งจะต้องมีการแนะนำและขยายระบบบำนาญที่มีการสะสมเงินเต็มจำนวนทั้งจากการทำงานและส่วนบุคคล ความท้าทายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการทำให้ตลาดแรงงานเข้าสู่ระบบ เนื่องจากประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านี้ยังคงทำงานนอกระบบโดยไม่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม ปัญหาที่เกือบทุกประเทศมีเหมือนกันคือ อายุเกษียณภาคบังคับหรืออายุเกษียณขั้นต่ำที่ค่อนข้างต่ำซึ่งไม่สะท้อนการเพิ่มขึ้นของอายุขัยเฉลี่ย
ไทยจำเป็นต้องปฏิรูปเร่งด่วน ด้วยคะแนนรวม 4.1 ระบบบำนาญของไทยจึงอยู่ในอันดับท้ายๆ ของการจัดอันดับ ความจำเป็นในการปฏิรูปมาจากความครอบคลุมของระบบบำนาญในระดับต่ำและอายุเกษียณที่ควรเชื่อมโยงกับอายุขัยเฉลี่ย มาตรการเพิ่มเติมที่ควรจะมี ได้แก่ การจูงใจให้มีการออมเพื่อการเกษียณ โดยเฉพาะสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เพื่อแก้ปัญหาภาวะหนี้สินสูงของครัวเรือน ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่มีความได้เปรียบด้านประชากรอีกต่อไป เนื่องจากกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าอัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจาก 22% เป็น 50% ในอีก 25 ปีข้างหน้า
อลิอันซ์เปิดรายงาน Global Pension Report ฉบับที่ 3 วิเคราะห์ระบบบำนาญ 71 ระบบทั่วโลกโดยใช้ดัชนี Allianz Pension Index (API) ที่พัฒนาขึ้นเอง ดัชนีนี้ประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านประชากรศาสตร์และการคลัง การประเมินความยั่งยืน เช่น การเงินและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ และความเพียงพอของระบบบำนาญ เช่น ความครอบคลุมและระดับบำนาญ มีการนำตัวชี้วัดทั้งหมด 40 ตัวชี้วัดมาพิจารณา โดยให้คะแนนตั้งแต่ 1 คือ กลุ่มไม่จำเป็นต้องปฏิรูป ถึง 7 กลุ่มที่จำเป็นต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ผลรวมถ่วงน้ำหนักของตัวชี้วัดทั้งหมดสะท้อนถึงความจำเป็นในการปฏิรูประบบบำนาญนั้นๆ
ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันที่สูงต่อการปฏิรูป เมื่อเทียบกับรายงานครั้งล่าสุดของเราในปี 2566 กลุ่มประเทศเล็กๆ เช่น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ซึ่งมีคะแนนรวมต่ำกว่า 3 อย่างชัดเจน แต่มีระบบบำนาญที่ถือว่าดีเพราะวางแนวทางสู่ความยั่งยืนได้ทันเวลาด้วยการนำระบบการสมทบเงินมาใช้ และเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่ญี่ปุ่นอยู่ในรายชื่อนี้ด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นใช้ระบบบำนาญที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ นั่นคือ อายุการทำงานที่นานขึ้น แม้แต่ทุกวันนี้ หนึ่งในสามของผู้ที่มีอายุระหว่าง 65-70 ปีในญี่ปุ่นยังคงทำงานอยู่ และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คาดว่าอายุเกษียณที่แท้จริงจะเพิ่มขึ้นเป็น 70 ปี
ประเทศที่มีคะแนนรวมต่ำกว่า 4 มีจำนวนมากกว่ามาก และเป็นประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปเพื่อไม่ให้ระบบบำนาญได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร กลุ่มในกลุ่มนี้มีประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย โคลอมเบีย และไนจีเรีย ปัญหาของกลุ่มนี้มักจะไม่ได้เกิดจากการออกแบบระบบบำนาญ แต่มาจากสัดส่วนของพนักงานนอกระบบที่ไม่ได้รับความคุ้มครองซึ่งมักจะมีจำนวนสูงกว่า 50% จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปตลาดแรงงานอย่างกว้างขวางก่อนเพื่อสร้างพื้นฐานสำหรับระบบบำนาญที่ครอบคลุม มิเช่นนั้น ระบบบำนาญจะกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเหลื่อมล้ำ ส่วนกลุ่มที่สามของระบบบำนาญมีประเทศในยุโรปหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งระบบบำนาญเปลี่ยนไปสู่การออมเงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยระบบ Pay As You Go ยังคงเป็นระบบหลัก ทำให้เกิดแรงกดดันในการปฏิรูปสูงท่ามกลางการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ลดช่องว่างของเงินออมบำนาญจากการคำนวณ ช่องว่างในการออมเงินบำนาญสำหรับคนรุ่นใหม่ในยุโรปอยู่ที่ประมาณ 3.50 แสนล้านยูโรต่อปีโดยเฉลี่ย ฟังดูเหมือนจำนวนมาก แต่เราสามารถปิดช่องว่างนี้ได้หากเพิ่มอัตราการออมขึ้นหนึ่งในสี่
Go To Lead
|
บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต นำโดยคุณสมชัย อาภรณ์ศิริพงษ์ Deputy Chief Executive Officer ตอกย้ำพลังความรักและความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ จัดงาน BKK BIG DREAM & BEST OF THE BEST ฝันให้ใหญ่ ไปให้ถึง รวมพลังที่ปรึกษาประกันชีวิตในพื้นที่กรุงเทพ แสดงความพร้อมมุ่งเจาะตลาด Urban ด้วยการเสริมศักยภาพครอบคลุมครบทุกมิติ ยกระดับสู่การเป็น SMART AGENT เพื่อให้บริการลูกค้าในยุคดิจิทัลอย่างมืออาชีพ ณ ดิ โอเชี่ยนเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ภายในงานมีกิจกรรมหลากหลายที่มุ่งสร้างขวัญกำลังใจ ให้ความรู้ และพัฒนาความสามารถของที่ปรึกษาประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวท่ามกลางธรรมชาติ ที่ The Peak Flower Land การมอบรางวัล Top Of The Year, MDRT, OM เพื่อเชิดชูความสำเร็จของสุดยอดที่ปรึกษาประกันชีวิต รวมทั้งได้นำเสนอนโยบาย และแผนกลยุทธ์ปี 2025 เพื่อกำหนดแนวทางสู่เป้าหมายร่วมกัน ปิดท้ายด้วยงาน BEST OF THE BEST ฉลองความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ สร้างความประทับใจและแรงบันดาลใจให้ที่ปรึกษาประกันชีวิตทุกคนก้าวสู่ความสำเร็จต่อไป OCEAN LIFE ไทยสมุทร ไม่หยุดใช้พลังความรักพัฒนาที่ปรึกษาประกันชีวิตทั่วประเทศให้มีความเป็นมืออาชีพ เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า พร้อมให้คำแนะนำที่ดีที่สุด เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนก้าวสู่โลกใหม่ ที่มีชีวิตและสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
ร่วมติดตามข่าวสารและกิจกรรมดี ๆ จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร ได้ที่ OCEAN CLUB APP / LINE / Facebook / Instagram / Youtube : oceanlife เว็บไซต์ www.ocean.co.th หรือติดต่อ OCEAN LIFE CONTACT CENTER 1503 บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านสื่อมวลชนจะกรุณาประชาสัมพันธ์ Phot
Go To Lead
|