e-Learning
Hot News: 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Investigative Journalism Social Media สรุปการเรียนการสอน ข้อสอบปลายภาค มี 5 ข้อๆละ 6คะแนน รวม 30 คะแนน
http://www.tviclick.com
Home Page iClick News.com
Home
Print this webpage
Print
E-Learning
รหัสและชื่อรายวิชา 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Investigative Journalism Social Media

ผู้สอน by อาจารย์กฤติกา นพรัตน์

146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Investigative Journalism Social Media by อ กฤติกา นพรัตน์
สอนครั้งที่ 1 ภาคแรก ปีการศึกษา 2567
1.จุดมุ่งหมายของรายวิชา 1.1 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้หลักการ แนวคิด ความหมาย ทักษะการรายงานข่าวเชิงลึกบนเครือข่ายสื่อสังคม Social Media และสามารถใช้นวัตกรรมรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Social Media อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เทคนิคการรายงานข่าวเชิงลึกบนเครือข่ายสื่อสังคม Social Media และสามารถใช้นวัตกรรมรายงานข่าวเชิงลึกบนเครือข่ายสื่อสังคม Social Media อย่างยั่งยืน
2.วัตถุประสงค์ เพื่อให้การรายงานข่าวเชิงลึกมีความทันสมัย นักศึกษาเรียนรู้และเข้าใจหลักการ แนวคิด ทักษะ นวัตกรรมและเทคนิคการรายงานข่าวเชิงลึกบนเครือข่ายสื่อสังคม Social Media สามารถใช้เครือข่ายสื่อสังคมในการรายงานข่าวเชิงลึก
หมวดที่ 3. ลักษณะและการดำเนินการ 1. คำอธิบายรายวิชา หลักการรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Social Media โดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือช่วยในการรายงานข่าวเชิงลึกบนเครือข่ายสื่อสังคม โดยเน้นการใช้โปรแกรมประยุกต์ (แอปพลิเคชัน) ในการพัฒนางาน
1.หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Investigative Journalism Social Media อ.กฤติกา นพรัตน์ Writing and Reporting News A Coaching Method...ชื่อผู้แต่ง Carole Rich. 6th Edition สำนักพิมพ์ –ปีที่พิมพ์ Senior Publisher : Lyn Uhl.U.S.A.,2018
2. หนังสือ เอกสาร และข้อมูลอ้างอิง ที่สำคัญ มาลี บุญศิริพันธ์. (2556). วารสารศาสตร์เบื้องต้น : ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์, สนพ. กฤติกา นพรัตน์.(2562). วารสารศาสตร์ออนไลน์.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม Anthony Adornnato. (2018). Mobile and Social Media Journalism. SAGE Publishing.
3. หนังสือ เอกสาร และข้อมูลอ้างอิง ที่แนะนำ www.sonp.or.th สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ www.tja.or.th สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย www.econmass.com สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย www.thaibja.org สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย www.nstda.or.th สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) www.nbtc.go.th/ สำนักงาน กสทช.
การวัดผลการเรียน คะแนนสอบกลางภาค 30 คะแนน คะแนนสอบปลายภาค 30 คะแนน คะแนนเก็บ 40 คะแนน คะแนนรวม 100 คะแนน วิธีการสอบ ภาคทฤษฎีร้อยละ 40 ภาคปฏิบัติ ร้อยละ…60…..
..................................................................



สอนครั้งที่ 2 วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567
แนวคิดสื่อสังคม (Social Media) Brand Shaw, 2007 กล่าวว่า กระบวนการสื่อข่าวต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบ Model) การรวบรวมข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเชิงลึกและความหลากหลายของเนื้อหา ในสื่อสังคม (Social Media) อาทิFacebook,Blog,YouTube,Twitter, Line,Tik Tok
ทฤษฎีสารสนเทศ (Information Theory) แม็คเค Mac Kay : 1969 สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ Information Theory ว่า ข่าวสารเป็นกลไกของการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถตัดข้ามผ่านพื้นที่ทางกายภาพ สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามาแทนที่ “ชุมชน“ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นสื่อที่เอื้อต่อการสื่อสาร 2 ทาง (two-way communication) คือ ผู้อ่านสามารถติดต่อกับกองบรรณาธิการได้โดยตรง และสื่อสารระหว่างผู้ที่ใช้บริการออนไลน์ด้วยกัน โดยการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) รายงานข่าวด่วนในยุคดิจิตอล
ข้อมูลข่าวสาร (News Information ) พัชนี เชยจรรยา และคณะ 2541 สรุปว่า ข้อมูลข่าวสาร (หรือข่าวสารข้อมูล) และสารสนเทศ อย่างไรก็ตาม น้ำหนักความหมายของคำว่าสารสนเทศ มีจุดเน้นใน 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 1.สารสนเทศในแง่ของสาร (message) หมายถึง สัญลักษณ์ (symbol) ข้อมูล (data) และเนื้อหา (content) ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารกัน 2. สารสนเทศในแง่ของผล (effect) ของการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้ (knowledge) ทัศนคติ (attitude) และพฤติกรรม (behavior) ที่บุคคลได้รับจากสื่อ 3. สารสนเทศในแง่ขององค์ประกอบ (function) ของการสื่อสาร หมายถึง ข่าว (news) และข้อเท็จจริงต่าง ๆ (facts) ข้อมูลข่าวสาร (News Information )
คำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “สารสนเทศ” ซึ่งมีน้ำหนัก และคุณค่า ลดหลั่นกันไป ได้แก่ ข้อมูล ความรู้ ซึ่งจะนำไปสู่ขั้นที่ผ่านการสังเคราะห์จนตกผลึกมากที่สุด ที่เรียกว่า ภูมิปัญญา เราอาจวัดระดับของคำศัพท์เหล่านี้ได้ ดังนี้ (กาญจนา แก้วเทพ : 2541) 1. ข้อมูล เป็นคำที่ใช้กล่าวถึง บอกเล่าถึงสภาพความเป็นจริงในระดับแรกสุด หรือบอกอย่างตรงไปตรงมา 2. สารสนเทศ เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงความเป็นจริงในระดับที่ได้นำเอา "ข้อมูล" มาผ่านกระบวนการแบบใดแบบหนึ่ง มีการจัดระบบข้อมูลนั่นเอง 3. ความรู้ เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงสภาพความจริงที่ต่อเนื่องมาจากระดับสารสนเทศ โดยจะต้องผ่านการจัดระบบเพิ่มเติม ดังนี้ - ต้องมีกระบวนการจัดระบบที่มีความประณีตมากยิ่งขึ้น เช่น มีการอ้างอิงกับข้อความที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลระหว่างสารสนเทศกันเอง - ต้องมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล สามารถระบุได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผลลัพธ์ มีการลำดับของเวลา - ต้องมีความสม่ำเสมอ เป็นความจริงทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะครั้งคราว หรือเป็นกรณียกเว้น 4. ภูมิปัญญา เป็นคำที่กล่าวถึงความเป็นจริงที่ผ่านการพิสูจน์มาครั้งแล้วครั้งเล่า จนสามารถตกผลึกเป็นสาระที่ยอมรับกันในหมู่คนทั่วไป
หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารออนไลน์ หนังสือออนไลน์ iBook มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ภาพนิ่ง ภาพอินโฟ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวและเสียง อย่างเป็นระบบ ผ่านคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เผยแพร่สู่ผู้รับสารทั่วโลก ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Theory) ทฤษฎีนี้ถือเอาความต้องการของผู้ใช้สื่อ (user) เป็นหลัก และเห็นว่า “สื่อมวลชน” เป็นเพียงตัวเลือกตัวหนึ่ง (choice) ในชีวิตประจำวันของประชาชน หากสื่อมวลชนไม่สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้สื่อได้ ผู้ใช้สื่อก็จะหันไปหาสื่อประเภทอื่นๆ แมคเควล สรุปว่า การศึกษาแนวทางการใช้และความพึงพอใจต่อสื่อยังอยู่ในขอบเขตจำกัด เนื่องจากงานวิจัยที่ผ่านมายังไม่สามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนได้ว่า การที่บุคคลมีความต้องการที่จะเลือกรับสื่อ หรือข่าวสารนั้น เป็นเพราะมีสาเหตุมาจากความคาดหวังเพื่อแสวงหาความพึงพอใจ โดยได้รับอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมในสังคมที่สร้างความต้องการดังกล่าวนั้น ให้แก่บุคคลอย่างแน่นอน วันอังคารที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 8.30-12.30 ครั้งที่ 3 โดย อ.กฤติกา นพรัตน์ อาจารย์ประจำพิเศษ มหาวิทยาลัยสยาม ผู้บริหาร ความหมายของสื่อสังคม Social Media คือ เป็นสื่อสังคม ที่การนำเสนอการสื่อข้อูลข่าวสารสองทาง Post, Comment, Like, Share เป็นทั้งผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ผู้ชม โดยผู้สื่อข่าวสามารถรายงานข่าวเชิงลึกเหตุการณ์ เรื่องราว เนื้อหา Contents ภาพประกอบ Pictures คลิป วิดีโอ Clip Video และการถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง Live เผยแพร่ไปยังสาธารณชนได้ทั่วโลก ผู้รับสาร ผู้ชมสามารถ ชอบ Like ไม่ชอบ Unlike, แบ่งปันShare, แสดงความคิดเห็น Comment อย่างเช่น กรณีเหตุการณ์วิกฤต COVID-19 การค้นพบวัคซีน ป้องกัน COVID สายพันธุ์ต่างๆ / ภัยแล้ง / น้ำท่วม/ ไฟป่า/ แผ่นดินไหว/หิมะถล่ม เครื่องบินตก/Call Center ลวงโลก / ดารา บินไปทำงานต่างประเทศ / บิตคอยท์ มาแรง
..................................................................



สอนครั้งที่ 3 วันอังคารที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 8.30-12.30
ความหมายของสื่อสังคม Social Media คือ เป็นสื่อสังคม ที่การนำเสนอการสื่อข้อูลข่าวสารสองทาง Post, Comment, Like, Share เป็นทั้งผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ผู้ชม โดยผู้สื่อข่าวสามารถรายงานข่าวเชิงลึกเหตุการณ์ เรื่องราว เนื้อหา Contents ภาพประกอบ Pictures คลิป วิดีโอ Clip Video และการถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง Live เผยแพร่ไปยังสาธารณชนได้ทั่วโลก ผู้รับสาร ผู้ชมสามารถ ชอบ Like ไม่ชอบ Unlike, แบ่งปันShare, แสดงความคิดเห็น Comment
อย่างเช่น กรณีเหตุการณ์วิกฤต COVID-19 การค้นพบวัคซีน ป้องกัน COVID สายพันธุ์ต่างๆ / ภัยแล้ง / น้ำท่วม/ ไฟป่า/ แผ่นดินไหว/หิมะถล่ม เครื่องบินตก/Call Center ลวงโลก / ดารา บินไปทำงานต่างประเทศ / บิตคอยท์ มาแรง
ประเภทของสื่อสังคม ( Social Media ) ในต่างประเทศและประเทศไทย มีดังนี้ ปี ค.ศ. 2006 ทวิตเตอร์ (Twitter) สื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการผลิตข้อความสั้น 140 ตัวอักษร และ Application นำเสนอผ่านโลกอินเทอร์เน็ต
ปี ค.ศ. 2007 อินสตาแกรม ( Instagram ) สื่อสังคมออนไลน์ ได้กำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงเดียวกับบริษัท แอปเปิล แบรนด์ Apple ได้ใช้นวัตกรรมใหม่ผลิตสมาร์ทโฟน iPhone ออกมาสู่ตลาด
ปี ค.ศ. 2011 ไลน์ ( Line ) การสื่อสารแชต (Chat)
ปี ค.ศ. 2016 ไบต์แดนซ์ ก่อตั้ง Tik Tok จีนเรียก “โต่วอิน”
..................................................................



สอนครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 การรายงานข่าวเชิงลึก ตอนที่ 1 Facebook.com
สื่อมวลชนส่วนใหญ่มีการนำเสนอเนื้อหา Content ภาพ Picture คลิป วิดีโอ Clip Video การถ่ายทอดสด Live เนื่องจากมีการแข่งขันสูง ทั้งสื่อดั้งเดิม สื่อออนไลน์
Online Media สื่อสังคม Social Media การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Facebook นั้น เนื้อหาการรายงานข่าวต้องน่าสนใจ สั้น กระชับ แปลก ใหม่ มุ่งเนื้อหาประเด็นหลักของเรื่อง หรือเหตุการณ์ ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหากนำเสนอภาพรวม ก็ต้องครบครัน ส่วนภาพประกอบก็ต้องเป็นภาพที่น่าสนใจ ภาพที่แตกต่างจากสื่ออื่น บอกเล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ ถ้าเป็นคลิป วิดีโอ Clip Video ต้องมีการตัดต่อที่สั้น กระชับ ถ้ามีความยาวเกิน 1-2 นาที ควรนำเสนอเป็นซีรีส์ EP1 ,EP2,EP3 เป็นต้น ปัจจุบันสื่อสังคม Facebook ได้มีการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทาง Facebook ให้ผู้ส่งสาร สามารถนำเสนอ คลิป วิดีโอ Clip Video คลิป วิดีโอClip Video ความยาว 5 นาที ขึ้นไป เป็นช่องทางของผู้ส่งสารเอง แข่งขันกับ YouTube
ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา Chief Digital Officer & Cofounder at The Flight 19 Agency กล่าวว่า “คลิป วิดีโอ ควรมีความยาวเพียง 30 วินาที- 2 นาที เป็นความยาวที่ได้รับการตอบรับที่ดีที่สุด พูดง่ายๆคือ ความยาวของวิดีโอที่นำเสนอบน Facebook ไม่ควรเกิน 2 นาที หรือ120 วินาที”
การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA ตอนที่ 2 www.youtube.com แนวคิดเกี่ยวกับข่าวสืบสวน มาลี บุญศิริพันธ์ (2548) ให้ความหมายของข่าวสืบสวนว่า เป็นข่าวที่มีเป้าหมายในการใช้วิธีการ สื่อข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อต้องการเจาะลึก ขุดคุ้ย สืบสวน เปิดโปง และรายงานข้อมูล/ ข้อเท็จจริงที่ ถูกปกปิดอย่างเร้นลับ จนได้ความจริงมาน าเสนอต่อผู้อ่านให้รับรู้เข้าใจในรูปแบบต่างๆ โดยเรื่องที่ขุดคุ้ยมัก เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ต้องการเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ เป็นความริเริ่มของผู้สื่อข่าวที่จะต้องการ 6 เปิดเผยความจริงที่ซุกซ่อนด้วยเจตนาที่ไม่สุจริตให้ปรากฏต่อสังคม ข่าวสืบสวนและตีความจึงต้องเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ความเสียหายของสาธารณชน
อ.มาลี บุญศิริพันธ์ (2548) แบ่งรายงานสืบสวนตามลักษณะประเด็น/ เนื้อหา ออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1) การทุจริตทางการเมือง คอรัปชั่นในหน่วยงานราชการ 2) การบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติใช้ประโยชน์ จากพื้นที่สาธารณะโดยมิชอบ 3) การใช้อำนาจ หรือละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่โดยเจตนาไม่สุจริต 4) การทำผิดศีลธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพ สังคม และศาสนา 5) การฉ้อฉลเงินทองโดยเจตนา เบียดบัง ผลประโยชน์ส่วนรวม 6) การละเมิดสิทธิมนุษยชน 7) การใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ ซับซ้อน
หลักการรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Youtube.com หลักการต้องมีการนำเสนอ 5 W 1H
1. WHO ใคร
2.WHAT ทำอะไร
3.WHERE ที่ไหน
4.WHEN เมื่อไร
5.WHY ทำไม
6.HOW อย่างไร

สอนครั้งที่ 5 วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567
การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA ตอนที่ 2 www.youtube.com
Ulmann John (1995) กล่าวว่า ข่าวสืบสวนเป็นผลจากการริเริ่มของบุคคลหรือของผู้สื่อข่าว เป็นเรื่องที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต้องการปกปิดเป็นความลับ การสืบสวนต้องประกอบด้วยส่วน เบื้องต้น 1 ประการ คือ 3) ต้องเป็นรายงานที่กระทำด้วยตัวผู้สื่อข่าวเอง ไม่ใช่การรายงานจากการสืบสวน ของผู้อื่น 2) เรื่องนั้นต้องเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่มีความสำคัญยิ่งต่อส่วนรวม และ 3) เป็นเรื่องที่มีผู้ พยายามปิดบังจากการรับรู้ของสาธารณชน
แนวคิดเกี่ยวกับข่าวสืบสวน อ.มาลี บุญศิริพันธ์ (2548) ให้ความหมายของข่าวสืบสวนว่า เป็นข่าวที่มีเป้าหมายในการใช้วิธีการ สื่อข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อต้องการเจาะลึก ขุดคุ้ย สืบสวน เปิดโปง และรายงานข้อมูล/ ข้อเท็จจริงที่ ถูกปกปิดอย่างเร้นลับ จนได้ความจริงมาน าเสนอต่อผู้อ่านให้รับรู้เข้าใจในรูปแบบต่างๆ โดยเรื่องที่ขุดคุ้ยมัก เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ต้องการเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ เป็นความริเริ่มของผู้สื่อข่าวที่จะต้องการ 6 เปิดเผยความจริงที่ซุกซ่อนด้วยเจตนาที่ไม่สุจริตให้ปรากฏต่อสังคม ข่าวสืบสวนและตีความจึงต้องเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ความเสียหายของสาธารณชน
หลักการรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Youtube.com หลักการต้องมีการนำเสนอ 5 W 1H
1. WHO ใคร
2.WHAT ทำอะไร
3.WHERE ที่ไหน
4.WHEN เมื่อไร
5.WHY ทำไม
6.HOW อย่างไร

..................................................................



สอนครั้งที่ 6 วันอังคารที่ 24 กันยายน 2567
การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA ตอนที่ 3-4 www.twitter.com หรือ www.x.com / IG instageram
Ulmann John (1995) กล่าวว่า ข่าวสืบสวนเป็นผลจากการริเริ่มของบุคคลหรือของผู้สื่อข่าว เป็นเรื่องที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต้องการปกปิดเป็นความลับ การสืบสวนต้องประกอบด้วยส่วน เบื้องต้น 1 ประการ คือ 3) ต้องเป็นรายงานที่กระทำด้วยตัวผู้สื่อข่าวเอง ไม่ใช่การรายงานจากการสืบสวน ของผู้อื่น 2) เรื่องนั้นต้องเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่มีความสำคัญยิ่งต่อส่วนรวม และ 3) เป็นเรื่องที่มีผู้ พยายามปิดบังจากการรับรู้ของสาธารณชน
แนวคิดเกี่ยวกับข่าวสืบสวน อ.มาลี บุญศิริพันธ์ (2548) ให้ความหมายของข่าวสืบสวนว่า เป็นข่าวที่มีเป้าหมายในการใช้วิธีการ สื่อข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อต้องการเจาะลึก ขุดคุ้ย สืบสวน เปิดโปง และรายงานข้อมูล/ ข้อเท็จจริงที่ ถูกปกปิดอย่างเร้นลับ จนได้ความจริงมาน าเสนอต่อผู้อ่านให้รับรู้เข้าใจในรูปแบบต่างๆ โดยเรื่องที่ขุดคุ้ยมัก เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ต้องการเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ เป็นความริเริ่มของผู้สื่อข่าวที่จะต้องการ 6 เปิดเผยความจริงที่ซุกซ่อนด้วยเจตนาที่ไม่สุจริตให้ปรากฏต่อสังคม ข่าวสืบสวนและตีความจึงต้องเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ความเสียหายของสาธารณชน
หลักการรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม www.twitter.com / IG instageram หลักการต้องมีการนำเสนอ 5 W 1H
1. WHO ใคร 2.WHAT ทำอะไร 3.WHERE ที่ไหน 4.WHEN เมื่อไร 5.WHY ทำไม 6.HOW อย่างไร
การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA ตอนที่ 3-4 www.X.com / IG instageram
สื่อมวลชนส่วนใหญ่มีการนำเสนอเนื้อหา Content ภาพ Picture คลิป วิดีโอ Clip Video การถ่ายทอดสด Live เนื่องจากมีการแข่งขันสูง ทั้งสื่อดั้งเดิม สื่อออนไลน์ Online Media สื่อสังคม Social Media การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Facebook นั้น เนื้อหาการรายงานข่าวต้องน่าสนใจ สั้น กระชับ แปลก ใหม่ มุ่งเนื้อหาประเด็นหลักของเรื่อง หรือเหตุการณ์ ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหากนำเสนอภาพรวม ก็ต้องครบครัน ส่วนภาพประกอบก็ต้องเป็นภาพที่น่าสนใจ ภาพที่แตกต่างจากสื่ออื่น บอกเล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ ถ้าเป็นคลิป วิดีโอ Clip Video ต้องมีการตัดต่อที่สั้น กระชับ ถ้ามีความยาวเกิน 1-2 นาที ควรนำเสนอเป็นซีรีส์ EP1 ,EP2,EP3 เป็นต้น ปัจจุบันสื่อสังคม Facebook ได้มีการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทาง Facebook ให้ผู้ส่งสาร สามารถนำเสนอ คลิป วิดีโอ Clip Video คลิป วิดีโอClip Video ความยาว 5 นาที ขึ้นไป เป็นช่องทางของผู้ส่งสารเอง แข่งขันกับ YouTube
ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา Chief Digital Officer & Cofounder at The Flight 19 Agency กล่าวว่า “คลิป วิดีโอ ควรมีความยาวเพียง 30 วินาที- 2 นาที เป็นความยาวที่ได้รับการตอบรับที่ดีที่สุด พูดง่ายๆคือ ความยาวของวิดีโอที่นำเสนอบน Facebook ไม่ควรเกิน 2 นาที หรือ120 วินาที”

.....................................

การเรียนการสอน ครั้งที่ 7 วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2567
การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA ตอนที่ 5-6 TIKTOK / LINE
โลกแห่งการสื่อสาร และโลกแห่งข้อมูลข่าวสารได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เจ้าของและผู้ผลิตสื่อได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาผลิตสื่อและนำเสนอในช่องทางใหม่ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับรู้ข้อความสั้น ข้อมูลข่าวสาร ข้อความ เนื้อหา บทบรรณาธิการ บทความ บทวิจารณ์ และสารคดี รวมทั้งภาพประกอบ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง Clip Video, Live เป็นต้น
มาร์แชล แมคลูฮัน กล่าวว่า “เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ จะสร้างกรอบการมองโลกที่แตกต่างกันออกไปจากยุคก่อน” ความเป็นมาของสื่อสังคม ( Social Media ) ในต่างประเทศมีการพัฒนานวัตกรรมในการสื่อสาร เว็บล็อก (Weblog ) กูเกิล (www.google.com ) เฟซบุ๊ก (www.facebook.com ) ยูทูบ ( www.youtube.com ) ทวิตเตอร์ ( www.twitter.com ) อินสตาแกรม ( www.instagram.com ) ไลน์ ( Line ) ติ๊กตอก (Tik Tok)
วิวัฒนาการของสื่อสังคม ( Social Media ) ในต่างประเทศและประเทศไทย มีดังนี้ ปี ค.ศ. 1996 เว็บล็อก ( Weblog ) ปี ค.ศ. 1996 พันทิป ( www.pantip.com ) ปี ค.ศ. 1998 กูเกิล ( google ) เสิร์ชเอ็นจิน และแอพพลิเคชั่น ปี ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊ก www.facebook.com สื่อสังคมออน ซึ่งก่อตั้งโดย มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg)ได้มีการผลิตเนื้อหาในเฟซบุ๊กและ Applications ปี ค.ศ. 2005 ยูทูบ YouTube สื่อสังคมได้มีการผลิตคลิป วิดีโอและ Applications นำเสนอผ่านโลกอินเทอร์เน็ต

จากการสำรวจของไทยแลนด์ โซเชียล อวอร์ดส์ 2018 เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานพบว่า 1.คนไทยใช้เฟซบุ๊ก facebook จำนวน 49 ล้านคน เติบโต 4 % 2.ใช้ไลน์ line จำนวน 41 ล้านคน 3.ใช้อินสตาแกรม Instagram จำนวน 13.6 ล้านคน เติบโต 24 % 4.ใช้ทวิตเตอร์ Twitter หรือ X จำนวน 12 ล้านคน เติบโต 4 % ใช้ประจำจากจำนวน 3.1 ล้านคน เพิ่มเป็น 5.7 ล้านคน เติบโตสองเท่า
ผลสำรวจผู้ใช้ TikTok โดย AC Neilsen พบว่า 83% ของผู้ใช้ชื่นชอบการชมคอนเทนท์วิดีโอจากแบรนด์มากกว่าภาพนิ่งหรือ gifs 84% ของผู้ใช้บอกว่าเกิดความอยากซื้อสินค้าเมื่อได้ชมวิดีโอจากแบรนด์บน TikTok อีกทั้งยังพบว่าผู้ใช้ TikTok เป็นกลุ่มที่ชื่นชอบการค้นพบ และทดลองสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง Mega Sales ที่พบว่า 79% ของผู้ใช้ TikTok มีการซื้อสินค้าจากแบรนด์ใหม่แทนที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์เดิมที่คุ้นเคย 58% ของผู้ใช้ TikTok มีการซื้อสินค้าที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าแต่เป็นการซื้อหลังจากที่ได้ชมคอนเทนท์ของแบรนด์บน TikTok การวางกลยุทธ์เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเพิ่มยอดขายใน Mega Sales ควรมีการเริ่มสร้างแคมเปญโฆษณาล่วงหน้าอย่างน้อย 10-30 วันก่อนเริ่มแคมเปญ เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้บริโภคเริ่มทำการศึกษาหาข้อมูล ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากซื้อสินค้าโดยไม่ได้ตั้งใจแต่เกิดจากแรงกระตุ้นหลังจากได้ชมโฆษณาหรือคอนเทนท์บนแพลตฟอร์ม TikTok
ความสำคัญของสื่อสังคม Social Media คือ เป็นช่องทางการสื่อสารสองทาง ทั้งผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ผู้ชม โดยผู้สื่อข่าวสามารถรายงานข่าวเชิงลึก เหตุการณ์ เรื่องราว ภาพประกอบ คลิป วิดีโอ Clip Video และการถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง Live เผยแพร่ไปยังสาธารณชนได้ทั่วโลก อย่างเช่น กรณีเหตุการณ์วิกฤต COVID-19 การค้นพบวัคซีน น้ำท่วม เป็นต้น
การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Social Media มีการนำเสนอเรื่องราว โดยขุดคุ้ยเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ กระตุ้นให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ทั้งด้านฐานะ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ระหว่างคนจนกับคนรวย คนมีอำนาจกับคนไม่มีอำนาจ
หลักการรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม TIKTOK / LINE หลักการต้องมีการนำเสนอ 5 W 1H

1. WHO ใคร
2.WHAT ทำอะไร
3.WHERE ที่ไหน
4.WHEN เมื่อไร
5.WHY ทำไม
6.HOW อย่างไร


...............................................

การเรียนการสอน ครั้งที่ 9 วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567


โลกแห่งการสื่อสาร และโลกแห่งข้อมูลข่าวสารได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เจ้าของและผู้ผลิตสื่อได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาผลิตสื่อและนำเสนอในช่องทางใหม่ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับรู้ข้อความสั้น ข้อมูลข่าวสาร ข้อความ เนื้อหา บทบรรณาธิการ บทความ บทวิจารณ์ และสารคดี รวมทั้งภาพประกอบ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง Clip Video, Live เป็นต้น มาร์แชล แมคลูฮัน กล่าวว่า “เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ จะสร้างกรอบการมองโลกที่แตกต่างกันออกไปจากยุคก่อน”
ความเป็นมาของสื่อสังคม ( Social Media ) ในต่างประเทศมีการพัฒนานวัตกรรมในการสื่อสาร เว็บล็อก (Weblog ) กูเกิล (www.google.com ) เฟซบุ๊ก (www.facebook.com ) ยูทูบ ( www.youtube.com ) ทวิตเตอร์ ( www.twitter.com ) อินสตาแกรม ( www.instagram.com ) ไลน์ ( Line ) ติ๊กตอก (Tik Tok)
วิวัฒนาการของสื่อสังคม ( Social Media ) ในต่างประเทศและประเทศไทย มีดังนี้ ปี ค.ศ. 1996 เว็บล็อก ( Weblog ) ปี ค.ศ. 1996 พันทิป ( www.pantip.com ) ปี ค.ศ. 1998 กูเกิล ( google ) เสิร์ชเอ็นจิน และแอพพลิเคชั่น ปี ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊ก www.facebook.com สื่อสังคมออน ซึ่งก่อตั้งโดย มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg)ได้มีการผลิตเนื้อหาในเฟซบุ๊กและ Applications ปี ค.ศ. 2005 ยูทูบ YouTube สื่อสังคมได้มีการผลิตคลิป วิดีโอและ Applications นำเสนอผ่านโลกอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของสื่อสังคม www.facebook.com มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กกับเพื่อนๆ ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รวบรวมรูปเพื่อนๆ ทำเป็นอัลบั้มรูป มีสมาชิกจำนวน 500 ล้านคน ต่อมา Facebook ได้พัฒนาระบบ E-Mail เพื่อรองรับสมาชิกในการสื่อสารรับ-ส่งข้อความถึงเพื่อนๆสมาชิก ทั้งภายใน Facebook และภายนอก ทั้งการส่งข้อความสั้น E-Mail,Chat ประวัติการสนทนาจะถูกเก็บไว้ย้อนหลังได้เป็นปี ปัจจุบัน Facebook ได้ซื้อกิจการ IG หรือ Instagram เป็นเงิน 30,000 ล้านบาท
ความเป็นมาของสื่อสังคม YouTube.com ยูทูบ (YouTube) สื่อสังคมออนไลน์ ที่คนทั่วโลกรู้จักดี ผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากยูทูบ อะไรที่กำลังเล่นบนยูทูบ ยูทูบทำงานอย่างไร เราสามารถ ชมวิดีโอบนสมาร์ทโฟน iPhone อะไรที่ผู้ใช้สามารถค้นหาบนเว็บยูทูบ อาทิ มีวิดีโอที่น่าสนใจมากมายบนยูทูบ
ความเป็นมาของสื่อสังคม twitter ปี ค.ศ. 2006 ทวิตเตอร์ ( Twitter ) แอพพลิเคชั่น (Application) สื่อสังคม (Social Media) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ช่วงแรกผู้ส่งสารสามารถผลิตข้อความสั้น 140 ตัวอักษร และต่อมาได้พัฒนาเพิ่มขึ้น ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ผู้ใช้สามารถนำเสนอ แบ่งปัน แสดงความคิดเห็น ข้อความสั้น ภาพ ภาพเคลื่อนไหว คลิป วิดีโอ การถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง (LIVE) แบบอินเตอร์แอ็คทีฟ ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต
จากการสำรวจของไทยแลนด์ โซเชียล อวอร์ดส์ 2018 เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานพบว่า 1.คนไทยใช้เฟซบุ๊ก facebook จำนวน 49 ล้านคน เติบโต 4 % 2.ใช้ไลน์ line จำนวน 41 ล้านคน 3.ใช้อินสตาแกรม Instagram จำนวน 13.6 ล้านคน เติบโต 24 % 4.ใช้ทวิตเตอร์ Twitter จำนวน 12 ล้านคน เติบโต 4 % ใช้ประจำจากจำนวน 3.1 ล้านคน เพิ่มเป็น 5.7 ล้านคน เติบโตสองเท่า
ผลสำรวจผู้ใช้ TikTok โดย AC Neilsen พบว่า 83% ของผู้ใช้ชื่นชอบการชมคอนเทนท์วิดีโอจากแบรนด์มากกว่าภาพนิ่งหรือ gifs 84% ของผู้ใช้บอกว่าเกิดความอยากซื้อสินค้าเมื่อได้ชมวิดีโอจากแบรนด์บน TikTok อีกทั้งยังพบว่าผู้ใช้ TikTok เป็นกลุ่มที่ชื่นชอบการค้นพบ และทดลองสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง Mega Sales ที่พบว่า 79% ของผู้ใช้ TikTok มีการซื้อสินค้าจากแบรนด์ใหม่แทนที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์เดิมที่คุ้นเคย 58% ของผู้ใช้ TikTok มีการซื้อสินค้าที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าแต่เป็นการซื้อหลังจากที่ได้ชมคอนเทนท์ของแบรนด์บน TikTok การวางกลยุทธ์เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเพิ่มยอดขายใน Mega Sales ควรมีการเริ่มสร้างแคมเปญโฆษณาล่วงหน้าอย่างน้อย 10-30 วันก่อนเริ่มแคมเปญ เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้บริโภคเริ่มทำการศึกษาหาข้อมูล ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากซื้อสินค้าโดยไม่ได้ตั้งใจแต่เกิดจากแรงกระตุ้นหลังจากได้ชมโฆษณาหรือคอนเทนท์บนแพลตฟอร์ม TikTok
ความสำคัญของสื่อสังคม Social Media คือ เป็นช่องทางการสื่อสารสองทาง ทั้งผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ผู้ชม โดยผู้สื่อข่าวสามารถรายงานข่าวเชิงลึก เหตุการณ์ เรื่องราว ภาพประกอบ คลิป วิดีโอ Clip Video และการถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง Live เผยแพร่ไปยังสาธารณชนได้ทั่วโลก อย่างเช่น กรณีเหตุการณ์วิกฤต COVID-19 การค้นพบวัคซีน น้ำท่วม เป็นต้น
การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม Social Media มีการนำเสนอเรื่องราว โดยขุดคุ้ยเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ กระตุ้นให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ทั้งด้านฐานะ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ระหว่างคนจนกับคนรวย คนมีอำนาจกับคนไม่มีอำนาจ ......................................

สอนครั้งที่ 10-15

การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA ตอนที่ 3 www.x.com หลักการต้องมีการนำเสนอ 5 W 1H
1. WHO ใคร 2.WHAT ทำอะไร 3.WHERE ที่ไหน 4.WHEN เมื่อไร 5.WHY ทำไม 6.HOW อย่างไร

การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA ตอนที่ 4 Line หลักการต้องมีการนำเสนอ 5 W 1H
1. WHO ใคร 2.WHAT ทำอะไร 3.WHERE ที่ไหน 4.WHEN เมื่อไร 5.WHY ทำไม 6.HOW อย่างไร

......................................

การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA อย่างมีจริยธรรม
จริยธรรม (ethics) หมายถึง ปรัชญา หรือระบบที่เกี่ยวเนื่องด้วยศีลธรรม เป็นหลักประพฤติปฏิบัติของคนในสังคมใดสังคมหนึ่ง กล่าวโดยทั่วไป จริยธรรมเป็นทฤษฎี หรือหลักเกี่ยวกับความประพฤติของคนว่าดี หรือไม่ดี เป็นสิ่งที่ใครจะประพฤติก็ได้ หรือไม่ประพฤติก็ได้ จริยธรรมเป็นเรื่องที่ผูกพันกับสำนึก อิสระในการเลือกประพฤติปฏิบัติ สำนึกจึงเป็นส่วนหนึ่งในจิตวิญญาณของสื่อมวลชน และนักวารศาสตร์ออนไลน์เช่นกัน พลาโต้ กล่าวถึงธรรมะ 4 ประการ ซึ่งเป็นคุณธรรม ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกัน ดังนี้ 1.ความรอบคอบ (prudence) 2.ความรู้จักประมาณ (temperance) 3.ความกล้าหาญ (courange) 4.ความยุติธรรม (justice)
เสถียร พันธะรังสี กล่าวว่า นักหนังสือพิมพ์ต้องมีศีล (การละเว้น) และธรรม (ข้อควรปฏิบัติ) เป็นพื้นฐานเป็นการควบคุมตนเอง วิวัฒนาการทางจริยธรรม เป็นขั้นตอนเหมือนกับการปกครอง มนุษย์ยุคโบราณมีการปกครองแบบอำนาจนิยม จะมีแนวคิดไปในทางลิดรอนเสรีภาพของมนุษย์ มนุษย์ยุคใหม่ภายใต้การปกครองแบบเสรีนิยมจะชื่นชมในเสรีภาพ พื้นฐานความคิดของเสรีภาพ ได้แก่ มนุษย์ ชีวิต เสรีภาพและคุณธรรม
1.มนุษย์ เป็นคนดี มีสมอง มี Good Will ในการเลือกการหลอกตัวเอง จึงเป็นความเลวร้ายอย่างยิ่ง มนุษย์เป็นจุดหมาย มิใช่ตัวกลางหรือเครื่องมือ 2.ชีวิต Life is an end in itself จุดหมายแห่งชีวิต คือ การสร้างชีวิตให้ดี เพื่อก้าวเข้าสู่สมบูรณภาพ โดยมีหลักการที่ดีและไม่ยอมทำลายหลักการนั้น 3.เสรีภาพ คือ สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานมนุษย์ สิ่งใดไม่เอื้อต่อเสรีภาพ สิ่งนั้นไม่ใช่จริยธรรม เสรีภาพทำให้มนุษย์สามารถรับผิดชอบตัวเขาเอง และการรับผิดชอบต่อตัวเอง ทำให้รับผิดชอบต่อคนอื่นด้วย มนุษย์ต้องมีเสรีภาพในการเลือก 4.ความจริงและคุณธรรม (True and Virtues) สิ่งที่เป็นความดี คือ สิ่งที่เลือกแล้วด้วยสติปัญญา
จากงานวิจัย เรื่อง วิเคราะห์ความพึงพอใจของสื่อมวลชนในการรายงานข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media )และสื่อดิจิทัล กฤติกา นพรัตน์ (2560) พบว่า ผู้สื่อข่าวมีความเห็นว่าการนำเสนอข่าวและภาพอันเป็นเท็จ เป็นการกระทำที่ไร้จริยธรรมและขาดความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด จำนวน 300 คน ร้อยละ 75.0 รองลงมา คือ การขโมยข้อมูลแหล่งข่าว จำนวน 119 ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 อันดับสาม ข้อมูลไม่เป็นกลาง จำนวน 118 ตัวอย่าง ร้อยละ 29.50 เขียนโจมตีแหล่งข่าว จำนวน 71 ตัวอย่าง ร้อยละ 17.80 ข่าวและภาพสยดสยอง จำนวน 68 ตัวอย่าง ร้อยละ 17.00 ตีแผ่ข้อมูล Off Record จำนวน 41 ตัวอย่าง ร้อยละ 10.30 ตีแผ่ข้อมูลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จำนวน 36 ตัวอย่าง ร้อยละ 9.00 เผยข้อมูลอินไซต์หุ้น จำนวน 29 ตัวอย่าง ร้อยละ 7.30 อื่นๆ จำนวน 12 ตัวอย่าง ร้อยละ 3.00
Ola Sigvarolsson, Press Ombudsman of Sweden นักหนังสือพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนจากสวีเดน กล่าวว่า “สื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ นิตยสารออนไลน์ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว สื่อออนไลน์ มีการแสดงความคิดเห็น การแสดงความรู้สึกเกลียดกัน สื่อจึงถูกตำหนิ แต่การควบคุมกันเอง (self – regulation)ของสื่อ ก็ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุด” ในประเทศสหรัฐอเมริกาสื่อมวลชนสาขาต่างๆมีจรรยาบรรณของตนเอง จรรยาบรรณสืjอมวลชนที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา คือ จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์ของสมาคมบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อเมริกาเมื่อ ปีค.ศ.1923 เรียกว่า The Canons of Journalism of the American Society of Newspaper Editors นักโฆษณา นักกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ตลอดจนนักประชาสัมพันธ์ก็มีจรรยาบรรณของตน Steve Hill # Paul Lashmar. 2014. p.145 สื่อสังคมออนไลน์เปลี่ยนกฎของสื่อมวลชน และบรรณาธิการที่เปรียบเสมือนเป็นนายประตูข้อมูลข่าวสาร ผู้อ่าน คือ ผู้บริโภคเนื้อหา สื่อมวลชน คือ ผู้ผลิตเนื้อหา บรรณาธิการเป็นผู้คัดเลือกเนื้อหาและควบคุมคุณภาพ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ อยู่ระหว่างกฎที่แตกต่างในช่วงเวลาที่แตกต่าง การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม SOCIAL MEDIA อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม(Social Responsibility Theory) สื่อมวลชนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ นิตยสารออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ สื่อดิจิทัลเจ้าของสื่อและนักสื่อสารมวลชนทุกประเภท ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และมีจรรยาบรรณ(ethics codes) ต่อผู้รับสาร ผู้ชม ผู้ใช้สื่อ
Andy Bull. 2016, p.37 เรื่องราวหนึ่งเรื่องที่นำเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ และวิดีโอ เราสามารถสร้างสรรค์แพกเกจวิดีโอ และแพกเกจออดิโอ การรายงานข้อความเชื่อมทั้งสองสื่อ และเป็นโอกาสของผู้รับสารที่สามารถโหวต แสดงความคิดเห็น การพูดคุย การเชื่อมโยง การสื่อสารสองทาง ดังนั้น การหมิ่นประมาท การละเมิดผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั้น ก่อเกิดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากโลกแห่งการสื่อสารได้เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ดังนั้น การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เนื้อหา ภาพ คลิป วิดิโอ จากสื่อเก่าได้ถูกนำเสนอในสื่อใหม่ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เกิดการเลียนแบบขึ้นมากมายในวงการสื่อ หรือกรณีผู้นำสื่อสังคมออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊กก็ประสบปัญหาผู้ใช้ได้ใช้เฟซบุ๊กถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง (LIVE) การฆ่าตัวตาย เหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ภาพที่ดูอุจาด ส่งผลให้ทางเฟซบุ๊กได้ตั้งทีมงาน 3,000 คน คอยเฝ้าระวังกลุ่มที่ใช้ถ้อยคำเกลียดชัง (Hate Speech) กลุ่มฆ่าตัวตาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สื่อทุกประเภทต้องรับผิดชอบต่อสังคมเช่นกัน
ทุกวันนี้อิทธิพลของสื่อออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมาก พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่วัยทำงาน ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต แต่รวมไปถึงทุกเพศทุกวัย ที่เข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อการรับรู้เป็นไปอย่างอิสระ การมีสติไตร่ตรองข้อมูลข่าวสารให้รอบคอบ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

......................................

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคม SOCIAL MEDIA
ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนักวารสารศาสตร์ออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ สื่อดิจิทัล ก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่างกรณีตัวอย่าง มีการเปิดเฟซบุ๊กปลอม “เดลินิวส์ออนไลน์” นำเสนอข่าวและภาพศิลปิน เต้นบนรถไฟฟ้าในญี่ปุ่น ลงภาพแล้วใช้ถ้อยคำหยาบคาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด และบริษัท เดลินิวส์เว็บ จำกัด ได้ฟ้องร้องผู้ปลอมเฟซบุ๊ก โดยนายกิตต์ธเนศ ตั้งสิริธนนันท์ บรรณาธิการข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ ข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาตรา 326 มาตรา 388 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 หรือกรณีตัวอย่าง หญิงท้อง 6 เดือน ตกลงไปในรางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จนถึงวินาทีรถไฟทับร่างจนเสียชีวิต การกระทำนั้นต้องโดนฟ้องละเมิดทางแพ่ง มาตรา 420 เพื่อเรียกค่าเสียหายจากสื่อ รวมทั้งฟ้องการบริหารงาน แอร์พอร์ตลิงก์ ไม่มีระบบป้องกันและรักษาปลอดภัย เช่น ไม่มีแผงกั้นในชานชาลา มาตรฐานการแจ้งเหตุทันที ที่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน จุดสำคัญที่จะยับยั้งเหตุร้ายได้ทันท่วงที
กรณีดังกล่าว ทั้งสื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ บุคคลทั่วไป ที่นำเสนอภาพ คลิป วิดีโอ Clip Video และแชร์เรื่องดังกล่าว เกี่ยวกับหญิงท้อง 6 เดือน แพร่กระจายไปตามสื่อออนไลน์ สื่อสังคม สื่อดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้เสียชีวิต ถึงเวลาแล้วทุกภาคส่วน ตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อ เจ้าของ ผู้บริหาร ทีมงาน และประชาชนทั่วไปจะมีสติในการใช้เทคโนโลยีนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ภาพ คลิปวิดีโอ Clip Video อย่างจริงจัง ในยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
สื่อสังคม Social Media ต้องมีวิธีรับมือกับข่าวลวงและข้ออ้างผิดๆ ในโฆษณาทางการเมืองด้วย ตามที่รอยเตอร์รวบรวมไว้ ดังนี้ เฟซบุ๊ค www.facebook.com เฟซบุ๊คมีโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภาคีฝ่ายที่ 3 แต่ยกเว้นให้นักการเมืองลงโฆษณาด้วยคำอ้างผิดๆ ได้ นโยบายนี้ถูกคณะกรรมการกำกับดูแลและสมาชิกสภาคองเกรสโจมตีว่า อาจเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารเฟซบุ๊ค ปกป้องท่าทีของบริษัทว่าไม่อยากจำกัดถ้อยแถลงทางการเมือง แต่บริษัทกำลังพิจารณาปรับนโยบายให้ดีขึ้นด้วย เฟซบุ๊คทำเนื้อหาตรวจสอบข้อเท็จจริงจากกลุ่มการเมือง และตรวจสอบข้อเท็จจริงจากนักการเมืองที่เคยแชร์ข้อมูลที่พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง และไม่อนุญาตให้เนื้อหานี้ปรากฏในโฆษณา ก่อนหน้านั้นไม่นานเฟซบุ๊คประกาศว่า ได้เปลี่ยนแนวทางโฆษณาทางการเมืองบางประการ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ใช้ปิดเครื่องมือโฆษณาแบบกำหนดเป้าหมายบางตัว นอกจากนี้ยังเปิดเผยข้อมูลผู้ชมโฆษณาได้มากขึ้นด้วย การขยายฟีเจอร์ข้อมูลผู้ชมโฆษณาใช้งานเมื่อไตรมาส 1 พร้อมกันนั้นเฟซบุ๊คมีแผนเริ่มควบคุมโฆษณาทางการเมืองในสหรัฐในฤดูร้อน (มิ.ย.-ส.ค.2562) แล้วค่อยๆ ขยายไปยังที่อื่นๆ เฟซบุ๊คยังเปิดให้ผู้ใช้เลือกปิดการมองเห็นโฆษณาพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ลงโฆษณากำหนดไว้ แล้วขยายไปถึงโฆษณาทุกประเภทไม่เฉพาะแค่ทางการเมือง
เอ็กซ์ www.x.com ทวิตเตอร์อิงค์ห้ามโฆษณาทางการเมืองตั้งแต่เดือน พ.ย.2562 รวมถึงโฆษณาที่อ้างถึงผู้สมัคร พรรคการเมือง การเลือกตั้ง หรือกฎหมาย ไม่อนุญาตให้มีโฆษณาเพื่อหวังผลสำหรับกลุ่มการเมืองหรือสังคมกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ “เราเชื่อว่าการเข้าถึงสารทางการเมืองควรเป็นความพยายาม ไม่ใช่ใช้เงินซื้อ” แจ็ค ดอร์ซีย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ทวิตเตอร์ หรือ X กล่าวว่า สมาชิกสภาคองเกรสหลายคนชมเชยการตัดสินใจของ x แต่นักวิจารณ์มองว่าทำแบบนี้คนที่ได้ประโยชน์ คือ ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งอยู่แล้ว ส่วนผู้สมัครที่ไม่เป็นที่รู้จักเท่าเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
เจ้าหน้าที่จากทีมหาเสียงของทรัมป์ ที่ทุ่มซื้อโฆษณาในเฟซบุ๊คและกูเกิลหนักกว่าพรรคเดโมแครต เรียกคำสั่งห้ามนี้ว่า “โง่เง่า” และว่าส่งผลเล็กน้อยต่อยุทธศาสตร์หาเสียงของทรัมป์ เน็ด ซีกัล ประธานคณะเจ้าหน้าท่ี่การเงิน (ซีเอฟโอ) ทวิตเตอร์ กล่าวว่า ตอนเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐในปี 2561 โฆษณาทางการเมืองทั้งหมดบนทวิตเตอร์เป็นเงินไม่ถึง 3 ล้านดอลลาร์ สตีฟ พาสเวเตอร์ รองประธานกลุ่มวิเคราะห์สื่อหาเสียง บริษัทคันตาร์มีเดีย กล่าวว่า เมื่อมองในมุมการโฆษณาทวิตเตอร์ไม่ถือว่าเป็นผู้เล่น เฟซบุ๊คและกูเกิลเป็นขาใหญ่ในเรื่องโฆษณาทางการเมือง กูเกิล www.google.com ผู้บริหารกูเกิล กล่าวว่า จะจำกัดกลุ่มผู้ชมโฆษณาการเลือกตั้ง พิจารณาจากอายุ เพศ และสถานที่ตามรหัสไปรษณีย์ การเปลี่ยนแปลงนี้เท่ากับว่าคนที่ลงโฆษณาทางการเมืองไม่สามารถจับกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ข้อมูลจำพวก ประวัติการลงคะแนนและความนิยมทางการเมือง เช่น เอียงขวา เอียงซ้าย หรืออิสระได้อีกต่อไป แต่ผู้ลงโฆษณาอาจกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามบริบทได้ เช่น แสดงโฆษณากับกลุ่มผู้ชมวีดิโอบางตัว กูเกิล www.google.comและยูทูบ www.youtube.com ห้ามการนำเสนอผิดๆ ในโฆษณา เช่น ข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับกระบวนการลงคะแนน อายุหรือสถานที่เกิดของผู้สมัคร หรือข้ออ้างผิดๆ ว่า บุคคลสาธารณะเสียชีวิตแล้ว กูเกิลไม่ได้ห้ามโฆษณาของนักการเมืองที่อ้างผิดๆ ไปเสียทั้งหมด เดือน ต.ค.2562 ทีมหาเสียงของโจ ไบเดน ขอให้กูเกิลลบโฆษณาของทรัมป์ที่มีเนื้อหาผิด แต่โฆษกกูเกิลบอกกับรอยเตอร์ว่าโฆษณาชิ้นนั้นไม่ได้ละเมิดนโยบายบริษัท ติ๊กต็อก www.tiktok.com แอพวิดีโอของจีนที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่นอเมริกัน ไม่อนุญาตให้มีโฆษณาทางการเมืองบนแพลตฟอร์ม ติ๊กต็อกแถลงเมื่อเดือน ต.ค.2562 ว่า บริษัทต้องการมั่นใจว่าติ๊กต็อกสร้างอารมณ์ขำขันล้อเลียนได้ต่อไป
เบลค แชนด์ลี รองประธานฝ่ายธุรกิจโลกของติ๊กต็อก กล่าวในบล็อกว่า “ธรรมชาติของโฆษณาทางการเมืองไม่น่าจะเหมาะกับประสบการณ์การใช้ติ๊กต็อก” ติ๊กต็อกเป็นของไบต์แดนซ์ บริษัทเทคโนโลยีจีนรายใหญ่มีฐานปฏิบัติการในกรุงปักกิ่ง ถูกสหรัฐฯถล่มหนักอ้างว่า เป็นห่วงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ในสหรัฐฯ
ลิงค์อิน www.linklin.com ลิงค์อินของไมโครซอฟท์ ไม่อนุญาตให้มีโฆษณาทางการเมือง โดยนิยามโฆษณาทางการเมืองไว้ เช่น “โฆษณาที่ทุ่มเทหรือต่อต้านเฉพาะเจาะจงผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้ง หรือตั้งใจสร้างอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้ง” เสิร์ชเอนจิ้น searchengin อย่างบิง ซึ่งเป็นของไมโครซอฟท์เหมือนกัน ไม่อนุญาตให้ลงโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือการเลือกตั้ง

...........................................................



แบบฝึกหัดครั้งที่ 1 อังคารที่ 3 กันยายน 2567 สอนครั้งที่ 3
1.แนวคิดและความหมาย Social Media ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

การส่งงาน 1 ส่งงาน line group : 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม 2 CAP หน้าจองานทั้งหมดส่ง kritnop2010@gmail.com , kritnop@siam.edu
.....................

แบบฝึกหัดครั้งที่ 2 อังคารที่ 17 กันยายน 2567 สอนครั้งที่ 5
2.นักศึกษาจงรายงานข่าวเชิงลึกเรื่อง การแจกเงินดิจิทัล มีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร นำเสนอในสื่อสังคม www.facebook.com/นศ และ lineของนศ.


การส่งงาน 1 ส่งงาน line group : 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม 2 CAP หน้าจองานทั้งหมดส่ง kritnop2010@gmail.com , kritnop@siam.edu
.....................
แบบฝึกหัดครั้งที่ 3 อังคารที่ 24 กันยายน 2567 สอนครั้งที่ 6
3.นักศึกษาจงอธิบายหลักการ และองค์ประกอบการรายงานข่าวเชิงลึก เรื่อง “ปลูกต้นไม้ ฟอกอากาศ รักษ์สิ่งแวดล้อม” นำเสนอในรูปแบบ clip video ความยาว 1-2 นาที 1 post clip ใน Facebook.com/นศ, 2 post clip ใน Youtube/นศ share link มาที่ www.facebook.com/iclicklive
......................
สอบเก็บคะแนน 5 ครั้ง สอนครั้งที่ 7-9 -10 -11-12
.......................
สอบเก็บคะแนน ครั้งที่ 1 อังคารที่ 1 ตุลาคม 2567 สอนครั้งที่ 7
1.หลักการรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม เรื่อง คนรุ่นใหม่ก้าวเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทย นำเสนอใน youtube.com/insight, instagram.com/insight ควร ประกอบด้วยอะไรบ้าง? 5 w 1 H ตามกรอบวิชาการ Frame of Theory และ Freame of Work วิชาชีพ
การส่งงาน 1 ส่งงาน line group : 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม 2 CAP หน้าจองานทั้งหมดส่ง kritnop2010@gmail.com , kritnop@siam.edu
.........................
สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 / อังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 สอนครั้งที่ 9
2.หลักการ และเทคนิคการรายงานข่าวเชิงลึก เรื่องบันเทิงและกีฬาไทย ก้าวไกลสู่ต่างแดนอย่างยั่งยืน นำเสนอใน youtube.com/scoop , facebook/scoop ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง?
การส่งงาน 1 ส่งงาน line group : 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม 2 CAP หน้าจองานทั้งหมดส่ง kritnop2010@gmail.com , kritnop@siam.edu
.........................
สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 3 / อังคารที่ 17 ตุลาคม 2567 สอนครั้งที่ 10
3.เทคนิคการนำเสนอรายงานข่าวเชิงลึกเรื่อง นวัตกรรมAI มีบทบาทต่อการศึกษาไทย นำเสนอสื่อสังคม Line และ TikTok?
การส่งงาน 1 ส่งงาน line group : 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม 2 CAP หน้าจองานทั้งหมดส่ง kritnop2010@gmail.com , kritnop@siam.edu
.........................
สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 4 /อังคารที่ 21 ตุลาคม 2567 สอนครั้งที่ 11
4.เก่งศักดิ์ ผู้สื่อข่าว เจาะลึกนิวส์ นำเสนอการรายงานข่าวเชิงลึกเรื่อง กีฬาเด่นที่คนไทยนิยม แฝงการเล่นพนัน เทคนิคการนำเสนอข่าวดังกล่าว ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง?
การส่งงาน 1 ส่งงาน line group : 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม 2 CAP หน้าจองานทั้งหมด ส่ง kritnop2010@gmail.com , kritnop@siam.edu
.........................
สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 5 / 31 ตุลาคม 2567 สอนครั้งที่ 12
5.เทคนิคการรายงานข่าวเชิงลึก อากาศเปลี่ยนแปลงกระทบต่อความเป็นอยู่คนไทยริมแม่น้ำ ลำคลอง อย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม บนสื่อสังคม Facebook,YouTube,IG, X, Tik Tok, Line ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง?
การส่งงาน 1 ส่งงาน line group : 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม 2 CAP หน้าจองานทั้งหมดส่ง kritnop2010@gmail.com , kritnop@siam.edu
.................................................

งานเดี่ยว 10 คะแนน
1.นักศึกษาถ่าย CLIP ความยาว 1 นาที เรื่องปลูกต้นไม้ คอนเซปต์ ต้นไม้ฟอกอากาศ ช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อมนศ /share link มาที่ line group 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม, www.facebook.com/iclicklive ส่งงานต้นเดือนตุลาคม 2567
.....................

งานกลุ่ม Project 10 คะแนน
1.นักศึกษา จงรายงานข่าวเชิงลึก เรื่องอาหารไทย เสริมสร้างสุขภาพดี THAI FOOD GOOD HEALTH 2024 CLIP ความยาว 2 นาที EP1, EP2 นำเสนอใน Facebook.com/นศ นำเสนอใน Youtube/นศ และ tiktok/นศ share link มาที่ line group 146-343 การรายงานข่าวเชิงลึกบนสื่อสังคม, www.facebook.com/iclicklive

Go To Top


  --  
iClickNews.com