|
กลยุทธ์สร้างความสำเร็จในยุคดิจิทัล 2025 Future Focus : AI & Presentation
Mastery 2025 ปลดล็อกศักยภาพ สู่โอกาสการเติบโตในอนาคต
นางสาวศิรนุช โรจนเสถียร ผู้บริหารด้านสื่อสารองค์กร นักประชาสัมพันธ์ และอดีตผู้ประกาศข่าว พิธีกร เปิดเผยว่า งานสัมมนา "Future Focus : AI & Presentation Mastery 2025" เพื่อ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคคลทั่วไป ที่สนใจเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ นำไปฝึกฝน พัฒนา จนกลายเป็นทักษะสำคัญติดตัว สู่เส้นทางการเติบโตในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา พร้อมก้าวข้ามขีดจำกัด สร้างความสำเร็จให้กับตัวเอง องค์กร และทุกธุรกิจ ด้วยการใช้ประโยชน์จาก AI อย่างชาญฉลาด เต็มประสิทธิภาพ เสริมความแกร่งด้านกลยุทธ์การสร้างธุรกิจให้ยั่งยืนโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ตลอดจนวิธีการดึงเสน่ห์การสื่อสารที่เป็นตัวเองอย่างน่าจดจำและประทับใจ จาก 3 กูรูชื่อดังมากประสบการณ์ตัวท็อประดับประเทศ พร้อมใบรับรองจาก Stamford International University วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00-16:00 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินอล 21 กรุงเทพฯ (Grande Centre Point Terminal 21)
โดยงานนี้ มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จาก ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมงาน สามารถใช้เครื่องมือ AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ปฏิบัติได้จริง โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ อ.กุลเชษฏ์ เล็กประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า AI คือเครื่องมือเปลี่ยนโลก ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจและการใช้ชีวิต คอร์สนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การใช้ AI ในการสร้าง Media Content ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI ในการสร้างเนื้อหาบน Social Media, การสร้างภาพ, การแต่งเพลงประกอบ, การสร้างวิดีโอ เป็นต้น
ต่อด้วย ดร.ภูวนาท คุณผลิน พิธีกร ดีเจ ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ตอกย้ำถึงความสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพว่า การนำเสนอที่มีเสน่ห์คือกุญแจสำคัญในการสื่อสารแนวคิดและข้อมูลต่าง ๆ ในงานสัมมนานี้ ผมจะแบ่งปันเทคนิคการนำเสนอของคุณทุกคนให้น่าจดจำที่สุด
ปิดท้ายด้วย ซีเค เจิง (CK Cheong) นักกลยุทธ์ธุรกิจ กล่าวว่า การเข้าใจแนวโน้มธุรกิจในอนาคต คือการเตรียมความพร้อมสำหรับความท้าทาย การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจจะช่วยให้คุณนำหน้าคู่แข่ง ด้วยปี 2025 ที่ใกล้เข้ามา เราจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติ
นอกจากความรู้ด้าน AI และการนำเสนอที่ล้ำสมัยแล้ว ผู้เข้าร่วมสัมมนายังได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจในอนาคตและเทคนิคที่ทำให้โดดเด่นในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปี 2025 อีกด้วย
โดยคอร์สนี้เหมาะสำหรับ
: ผู้บริหารและผู้จัดการที่ต้องการนำ AI เข้ามาใช้ในองค์กร
: หัวหน้างานที่ต้องการปรับปรุงทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ
: นักธุรกิจและผู้ประกอบการที่ต้องการเตรียมพร้อมสู่เทรนด์ตลาดใหม่ ๆ
: ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการสื่อสารองค์กรที่ต้องการสร้างการนำเสนอที่มีผลกระทบสูง
: ผู้ที่เตรียมตัวก้าวสู่บทบาทผู้นำในยุคที่ AI เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ
ประโยชน์เพิ่มเติม : นอกจากความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ผู้เข้าร่วมจะได้รับ **ใบรับรองจาก Stamford International University** ซึ่งเป็นการยืนยันความเชี่ยวชาญและการพัฒนาทักษะที่สามารถพาคุณก้าวสู่การเป็นผู้นำในยุค AI
*โปรโมชั่น Early Bird : 6,900 บาทเท่านั้น (จากราคาปกติ 12,900 บาท)* รวมค่าเรียนและอาหารตลอดทั้งวัน
**ช่องทางการลงทะเบียน**
Facebook : Enrich Engage Institute
https://www.facebook.com/profile.php?id=61566854063912
Line : https://lin.ee/yyheBP2
Tel : 095 961 6956
Email : siranuch88@gmail.com
Go To Lead
|
อาหารไทย...โอกาสธุรกิจสู่ตลาดโลก
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจที่มีความโดดเด่นและมีโอกาสเติบโตได้ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต พบว่า ธุรกิจร้านอาหารไทย เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งด้านการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลและผลประกอบการแต่ละปี โดยการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2562 - 2566) มีจำนวนเฉลี่ย 2,559 ราย / ปี แบ่งเป็น ปี 2562 จัดตั้ง 2,123 ราย ทุน 4,291.63 ล้านบาท ปี 2563 จัดตั้ง 1,732 ราย (ลดลง 391 ราย หรือ 18.42%) ทุน 3,478.49 ล้านบาท (ลดลง 813.14 ล้านบาท หรือ 18.95%) ปี 2564 จัดตั้ง 1,901 ราย (เพิ่มขึ้น 169 ราย หรือ 9.76%) ทุน 3,355.55 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 122.94 ล้านบาท หรือ 3.54%) ปี 2565 จัดตั้ง 3,021 ราย (เพิ่มขึ้น 1,120 ราย หรือ 58.92%) ทุน 6,588.34 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3,232.79 ล้านบาท หรือ 96.35%) ปี 2566 จัดตั้ง 4,017 ราย (เพิ่มขึ้น 996 ราย หรือ 32.97%) ทุน 8,078.63 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1,490.29 ล้านบาท หรือ 22.62%) ปี 2567 มกราคม - สิงหาคม จัดตั้ง 2,847 ราย ทุน 5,826.03 ล้านบาท
รายได้รวมของธุรกิจร้านอาหาร 3 ปีย้อนหลัง (2564 - 2566) พบว่า ปี 2564 รายได้รวม 179,645.68 ล้านบาท ปี 2565 รายได้รวม 244,412.99 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 64,767.31 ล้านบาท หรือ 36.06%) ปี 2566 รายได้รวม 306,618.54 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 62,205.55 ล้านบาท หรือ 25.45%) ขณะที่ผลประกอบการด้านกำไรขาดทุนรวมของธุรกิจ ปี 2564 ขาดทุน 9,621.06 ล้านบาท ปี 2565 กำไร 3,379.18 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 13,000.4 ล้านบาท หรือ 135.13%) ปี 2566 กำไร 9,700.52 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 6,321.34 ล้านบาท หรือ 187.07%) มูลค่าการลงทุนของต่างชาติที่ลงทุนในธุรกิจร้านอาหารนิติบุคคลไทย จำนวนรวม 29,071.35 ล้านบาท โดยต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) อเมริกา 6,075.23 ล้านบาท (20.90%) 2) ญี่ปุ่น 3,162.49 ล้านบาท (10.88%) 3) จีน 2,326.24 บาท (8.01%) 4) อินเดีย 2,168.02 ล้านบาท (7.46%) 5) ฝรั่งเศส 1,607.03 ล้านบาท (5.53%) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567) มีนิติบุคคลร้านอาหารที่ดำเนินกิจการอยู่ 44,508 ราย ทุนรวม 220,916.70 ล้านบาท เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) จำนวน 43,874 ราย (98.58%) ขนาดกลาง (M) 521 ราย (1.17%) และ ขนาดใหญ่ (L) 113 ราย (0.25%) ดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด 36,522 ราย (82.06%) ทุน 192,736.44 ล้านบาท (87.25%) ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 7,977 ราย (17.92%) ทุน 20,921.97 ล้านบาท (9.47%) และ บริษัทมหาชนจำกัด 9 ราย (0.02%) ทุน 7,258.29 ล้านบาท (3.29%)
นิติบุคคลส่วนใหญ่ตั้งอยู่พื้นที่กรุงเทพมหานคร 19,329 ราย (43.43%) (3 อันดับแรกตั้งอยู่ เขตวัฒนา เขตบางรัก และเขตคลองเตย) รองลงมา ภาคใต้ 7,966 ราย (17.90%) (3 อันดับแรกตั้งอยู่ จ.ภูเก็ต จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.กระบี่) ภาคตะวันออก 6,137 ราย (13.79%) (3 อันดับแรกตั้งอยู่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง และ จ.ตราด) ภาคกลาง 4,343 ราย (9.76%) ภาคเหนือ 3,772 ราย (8.48%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,971 ราย (4.43%) ภาคตะวันตก 990 ราย (2.23%)
อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า อาหารไทยเป็น ซอฟท์พาวเวอร์ อันดับ 1 ของประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น ทั้งรสชาติ การตกแต่ง ความสวยงาม จนได้รับจัดอันดับให้อาหารไทยเป็นอาหารที่ดีที่สุดในโลกสถาบันนานาชาติด้านอาหาร เช่น Tasteatlas Awards 2024 ประกาศให้อาหารไทย ติดอันดับที่ 17 จาก 100 อันดับอาหารที่ดีที่สุดในโลก และเป็นอันดับ 5 อาหารที่ดีที่สุดในเอเชีย และในปี 2566 ประเทศไทยมีร้านอาหารที่ได้รางวัล MICHELIN Guide แล้ว 441 ร้าน เป็นต้น จากการวิเคราะห์จุดแข็งและโอกาสของอาหารไทย พบว่า จุดแข็งของอาหารไทย คือ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบทั้งในและต่างประเทศ อาหารไทยมีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบสำคัญ ทำให้อาหารไทยได้รับการยกย่องเป็น อาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ อาหารไทยมีความหลากหลายตามภูมิภาค ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มเช่นเดียวกัน ขณะที่ โอกาสของอาหารไทยมีการเติบโตตามกระแสการรักสุขภาพ ตอบโจทย์เทรนด์รับประทานอาหารโลกที่ให้ความสำคัญทั้งสุขภาพและรสชาติ ภาครัฐให้การสนับสนุนและผลักดันธุรกิจอาหารไทยผ่านโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึง การเติบโตของตลาดออนไลน์ที่สามารถสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี ซึ่งการตลาดออนไลน์ทำให้ร้านอาหารไทยเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและมากขึ้น
ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยต้องมีการปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และแนวโน้มการประกอบธุรกิจที่ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน เช่น ด้านเทคโนโลยี ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกิจ เช่น ระบบการสั่งอาหารออนไลน์ ระบบการชำระเงิน มีการใช้โซเชียลมีเดียและอินฟลูเอนเซอร์ในช่วยในการทำการตลาดและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ด้านผลิตภัณฑ์ ต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ สดใหม่ ปลอดภัย เช่น ผักออแกนิก เพื่อสร้างความโดดเด่นให้ร้าน มีการสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ให้เข้ากับเทรนด์การบริโภค เช่น เมนูสุขภาพ เมนูฟิวชั่น เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม ด้านสถานที่และการบริการ โดยมีการสร้างบรรยากาศร้านให้น่าสนใจมีความแตกต่างเพื่อสร้างการจดจำและดึงดูดลูกค้า รวมถึงการใส่ใจบริการเพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ สถานที่ต้องมีความสวยงามเพื่อให้ลูกค้าถ่ายภาพและนำไปโพสต์หรือแชร์ลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ร้านไปในตัว นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการ สร้างแบรนด์ ให้ร้านเป็นที่จดจำและไม่เหมือนใคร ซึ่งจะช่วยให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จและยืนยันอยู่ในวงการร้านอาหารอย่างยั่งยืนยาวนาน ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยยังมีพื้นที่จำนวนมากให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจประกอบธุรกิจเข้ามาทำการตลาด โดยคาดว่าธุรกิจร้านอาหารมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มสูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากอาหารไทยมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครจึงยากที่จะเลียนแบบ ประกอบกับคนไทยมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจร้านอาหาร โดยจะเห็นได้ว่ามีร้านอาหารไทยตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ เกือบทุกประเทศในโลก และได้รับความนิยมจากประชากรของประเทศนั้นๆ เป็นอย่างมาก ร้านอาหารไทยจึงเป็น โอกาสทางธุรกิจ ที่พร้อมสยายปีกไปสร้างความเติบโตในต่างประเทศได้อย่างไม่ยาก
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ให้แข่งขันและเติบโตอย่างมีศักยภาพ มีทั้งโครงการฝึกอบรม การส่งเสริมการตลาด เช่น โครงการยกระดับร้านอาหารไทยในประเทศสู่ระดับสากล ผ่านการมอบตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ให้แก่ร้านอาหาร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับร้านอาหารไทย สร้างโอกาสและขยายช่องทางการตลาด กระจายรายได้และสร้างความเข้มแข็งแก่ท้องถิ่น กระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้าถึงร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย โดยปัจจุบันมีร้านอาหารไทยในประเทศไทยที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT แล้ว จำนวน 496 ร้าน แบ่งเป็น *Thai SELECT SIGNATURE 19 ร้าน *Thai SELECT CLASSIC 446 ร้าน และ *Thai SELECT UNIQUE 31 ร้าน โดยมีการทำการประชาสัมพันธ์ร้านอาหารที่ได้ตราสัญลักษณ์ภายใต้แคมเปญ เที่ยว ฟิน กิน Thai SELECT นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้สนับสนุนการขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ทั้งผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจและเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ผลักดันให้เกิดธุรกิจแฟรนไชส์รายใหม่ ยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐาน และการบริหารจัดการธุรกิจ ปัจจุบัน มีธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทร้านอาหารที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้การส่งเสริมสนับสนุนและผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแล้ว จำนวน 248 ราย และสนับสนุนแฟรนไชส์ไทยสู่สากลแล้วจำนวน 27 ราย ใน 31 ประเทศทั่วโลก อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย
Go To Lead
|
[ENGLISH]
|