Insurance
Go to  i click
Hot News: OIC Meets CEO 2024
http://www.tviclick.com
Home Page iClick News.com
Home
Print this webpage
Print
English Version
English
OIC Meets CEO 2024
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำหรับผลการประชุม OIC Meets CEO 2024 ที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการยกระดับและสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมประกันภัย 7 หัวข้อหลัก ดังนี้ หัวข้อที่ 1 การพัฒนามาตรฐานและยกระดับบทบาทของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยและผู้สอบบัญชี โดยจะมีการกำหนดให้บริษัทมีนโยบายการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน (Job Rotation) ให้กับนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในบริษัท และ/หรือมอบหมายให้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ของบริษัท เพื่อให้มีประสบการณ์ครบถ้วนในการทำงานในหน้าที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยแต่งตั้ง (Appointed Actuary) รวมถึงบริษัทประกันภัยจะสนับสนุนสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อช่วยยกระดับให้มีมาตรฐานการปฏิบัติงาน จรรยาบรรณ และการพัฒนาทางวิชาชีพที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
หัวข้อที่ 2 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารบริษัท ภายใต้การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย โดยให้นำหลักการของร่างกฎหมายในเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบ หัวข้อที่ 3 การยกระดับการกำกับดูแล โดยใช้ข้อมูล Unaudited Data ผ่าน Company Management Control โดยในที่ประชุมได้มีการกำหนดให้บริษัทประกันภัยจัดให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และพร้อมให้สำนักงาน คปภ. เรียกดูข้อมูลภายในระยะเวลาและช่องทางที่กำหนด โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดและดำเนินการต่อไป ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะใช้อำนาจทางกฎหมายในการเรียกดูข้อมูลอย่างระมัดระวังและ เท่าที่จำเป็น เพื่อใช้ในการติดตามบริษัทประกันภัยได้อย่างทันท่วงที
หัวข้อที่ 4 การยกระดับมาตรฐานการอนุมัติกรมธรรม์ประกันภัย โดยพัฒนารูปแบบการกำกับให้ความเห็นชอบการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันให้มากขึ้น ผ่อนคลายการกำกับอัตราเบี้ยประกันภัยให้มีความยืดหยุ่น การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยมีความสอดคล้องกับต้นทุนและความเสี่ยงในการออกกรมธรรม์ประกันภัยมากขึ้น และปรับหลักเกณฑ์จาก Rules-Based Approach เป็น Principles-Based Approach และมุ่งเน้นไปที่การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เพื่อทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลที่เพียงพอใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้บริษัทดำเนินการธุรกิจโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ ผู้เอาประกันภัยจะต้องได้รับประโยชน์จากการทำประกันภัยและได้รับการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม บริษัทประกันภัยพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่นำออกจำหน่ายได้โดยคำนึงถึงความเสี่ยงทั้งหมดและต้องไม่ทำให้สถานะทางการเงินโดยรวมเสียหาย และธุรกิจประกันภัยคำนึงถึงความยั่งยืนของอุตสาหกรรมประกันภัยในระยะยาว โดยที่ประชุมเห็นชอบในหลักการผ่อนคลายการกำกับอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ซึ่งจะมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการร่วมกันในรายละเอียดต่อไป
หัวข้อที่ 5 การนำส่งข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลางด้านประกันภัย (Insurance Bureau System: IBS) โดยในที่ประชุมได้มีการรายงานสถานะและปัญหาของการนำส่งข้อมูลในระบบ IBS Non-life และ IBS Life โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงาน สำหรับ IBS Life เพื่อศึกษารายละเอียดและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
หัวข้อที่ 6 การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการให้บริการการออกใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย/ผู้ประเมินวินาศภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Licensing) แบบครบวงจร ซึ่งได้มีการรายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมรับทราบถึงแพลตฟอร์มดังกล่าว ทั้งนี้ ระบบ E-Licensing อยู่ในระยะแรกของการใช้งาน ภาคธุรกิจสามารถแจ้งผลการใช้งานระบบต่อสำนักงาน คปภ. เพื่อรวบรวมปัญหาและพิจารณาปรับปรุงเพื่อให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
หัวข้อที่ 7 แนวทางการกำกับการลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับบริษัทประกันภัย โดยที่ประชุมรับทราบแนวทางการกำกับการลงทุนดังกล่าว และกรอบระยะเวลาในการพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลแบบรวมกลุ่มของธุรกิจประกันภัย เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจประกันภัยไทยไปพร้อม ๆ กับการคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงเชิงระบบ (Systemic Risk) เป็นสำคัญ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า เวทีการประชุม OIC Meets CEO 2024 มีประเด็นที่ต้องผลักดันให้ประกันภัยเป็นกลไกขับเคลื่อนชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของคนในชาติ โดยนำการประกันภัยเข้าไปรองรับทุกช่วงของการใช้ชีวิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนร่วมกันอีก 5 เรื่องหลัก ดังนี้ หัวข้อที่ 1 แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมาจากหลายปัจจัยที่บริษัทประกันภัยไม่สามารถควบคุมได้ จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบให้เบี้ยประกันภัยสุขภาพปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ยากขึ้น จึงมีแนวคิดในการกำหนดมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้มีความเหมาะสม และการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพให้มีความเหมาะสมกับประชาชน โดยที่ประชุมร่วมกันหารือมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และแนวทางการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพให้มีความเหมาะสมกับประชาชน โดยให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
หัวข้อที่ 2 ความร่วมมือในการส่งเสริม Insurance literacy ระหว่างสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย โดยที่ประชุมเห็นชอบในการร่วมมือกันส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย และจะได้มีการหารือในการจัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินการต่อไป
หัวข้อที่ 3 การจัดทำ Service Level Agreement (SLA) มาตรฐานกรอบระยะเวลาสำหรับการให้บริการของธุรกิจประกันภัย โดยที่ประชุมเห็นชอบในหลักการการจัดทำ SLA ในรูปแบบ Principle-Based โดยจะมีการหารือและปรับปรุงในรายละเอียดเพิ่มเติมในคณะทำงานต่อไป
หัวข้อที่ 4 การนำส่งข้อมูลในระบบรายงานข้อมูลการรับประกันภัยรถภาคบังคับ (CMIS) โดยจะมีการเร่งรัดและติดตามให้บริษัทประกันภัยนำส่งข้อมูลการรับประกันภัยรถภาคบังคับเป็น Real-time ตามเป้าหมายที่สำนักงาน คปภ. กำหนดโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรองรับการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) โดยกรมการขนส่งทางบกสำหรับการรับชำระภาษีรถประจำปี ผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลเพียงอย่างเดียว และรับทราบบทลงโทษกรณีบริษัทประกันภัยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกำหนด
หัวข้อที่ 5 การบริหารจัดการเงินกรมธรรม์ประกันภัยล่วงพ้นอายุความ โดยมีการขอความร่วมมือบริษัทประกันภัยเร่งรัดติดตามและดำเนินการจ่ายผลประโยชน์/ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินให้แล้วเสร็จก่อนที่จะล่วงพ้นอายุความ 10 ปี สำหรับประกันชีวิต และ 2 ปี สำหรับประกันวินาศภัย เพราะหากเกินระยะเวลาที่กำหนดบริษัทประกันภัยจะต้องนำส่งเงินดังกล่าวเข้ากองทุนประกันชีวิต/กองทุนประกันวินาศภัย
ตามกฎหมาย โดยกองทุนฯ จะติดตามและดำเนินการจ่ายคืนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้มีสิทธิต่อไปการประชุม OIC Meets CEO 2024 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยสำนักงาน คปภ. ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และหวังว่าการประชุมในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการประสานความร่วมมือเพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับและสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบประกันภัยไทย รวมถึงผลักดันให้การประกันภัยเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของคนในชาติ อันจะส่งผลต่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

Go To Lead


วิริยะ วางแผน'ขยาย'ประกันภัย
Non-Motor โตเพิ่ม 11%
นางฐวิกาญจน์ เตชทวีทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เป้าหมายปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นดูแลและพัฒนาการให้บริการลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีเหนือความคาดหวังของลูกค้าทุกท่าน ควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงที่เป็นธรรม ทั้งยังสอดรับปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่มั่นคง โปร่งใส จริงใจ และเป็นธรรม ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการวางแผนขยายประกันภัย Non-Motor ให้เติบโตเพิ่มขึ้น 11% โดยจะมุ่งเน้นไปที่การรับประกันความเสี่ยงภัยรายย่อยด้านส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยบ้าน และประกันภัยความรับผิด
“สำหรับปี 2566 ที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของประกันสุขภาพส่วนบุคคล เป็นไปในทิศทางเชิงบวก 11.48% สอดคล้องกับภาพรวมของตลาดที่คนไทยตระหนักถึงประโยชน์ของประกันสุขภาพมากขึ้น และในส่วนของการเติบโตภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ V Travel Comprehensive เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันในขณะเดินทาง และในส่วนของภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่ยังคงเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตและแนวโน้มที่สดใส ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง และบริษัทฯ มี Network ที่ครอบคลุม และความพร้อมด้านบริการ”
นางฐวิกาญจน์ฯ กล่าวต่อไปถึงแนวทางการดำเนินงานในปี 2567 ว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล ประกันสุขภาพเฉพาะโรค และประกันภัยโรคร้ายแรง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพิ่มความคุ้มครอง และบริการที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของลูกค้า (Good Health and Wellbeing) นอกจากนี้ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ประกันภัยเดินทาง เพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตลอดไปจนถึงการพัฒนาประกันภัย Carrier Liability Insurance, Cyber Security Insurance และ Professional Liability Insurance ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการในแต่ละประเภทธุรกิจ
“บริษัทฯ ยังมีนโยบายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองแนวคิด ESG Responsibilities ออกมาในรูปแบบ Green Insurance ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ช่วยส่งเสริมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงนำแนวคิด Green Insurance มาพัฒนาร่วมกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีอยู่ อาทิ ให้ความคุ้มครองการทดแทนสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยวัสดุในการปลูกสร้างที่เป็น Eco-Friendly ในการประกันอัคคีภัย นอกจากนี้จะสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ส่วนลดเบี้ยประกันพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้ใช้วัสดุในการปลูกสร้างที่เป็น Eco-Friendly มากขึ้น ถึงแม้จะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ แต่เชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยลดปัญหาของสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้” นางฐวิกาญจน์ฯ กล่าว
ในส่วนของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบงาน Non-Motor บริษัทฯ มี Roadmap ในการพัฒนาระบบ New Core System โดยมีการเริ่มใช้งานระบบ New Core Phase 1 ในส่วนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันภัยการเดินทาง เมื่อช่วงธันวาคม 2566 และ Phase ต่อไปในปี 2567 จะเป็นในส่วนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการบริการประกันภัยและสินไหมรองรับการเติบโตของบริษัทฯ
“นอกเหนือจากความคุ้มครองที่วิริยะประกันภัยดูแลลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง วิริยะประกันภัยได้ยกระดับการดูแลลูกค้าดั่งแคมเปญบริษัทฯ ในปี 2567 ที่ว่า “มากกว่าความคุ้มครอง คือ ความคุ้มค่า” ผ่านโครงการ Viriyah Privileges ด้วยการมอบหลากหลายสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีตลอดระยะเวลาที่เป็นสมาชิกของวิริยะประกันภัยตามเงื่อนไขของโครงการ โดยร่วมกับพันธมิตรแบรนด์ดังมากมาย และโรงพยาบาลชั้นนำ

Go To Lead


TQM 'รุก'ประกันรถยนต์ระยะสั้นขยายตลาดประกันรถยนต์กลุ่มคนใช้รถน้อย
ดร.นภัสนันท์ พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด กล่าวว่า “ประกันภัยรถยนต์ระยะสั้น” เป็นแบบประกันภัยที่ TQM ออกมานำมาเสนอเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่การใช้จ่าย มีแนวโน้มที่จะแบ่งผ่อนชำระเป็นงวดๆเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ฝืดเคือง หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง การจ่ายเงินก้อนย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ซี่งการทำประกันรถยนต์และจ่ายเบี้ยเพื่อคุ้มครองเป็นงวดๆ ระยะสั้น สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภค ทั้งกลุ่มที่มี Credit และ Non Creditรวมถึง กลุ่มผู้บริโภคที่ปกติจะทำเพียงแค่ พ.ร.บ เพื่อใช้ต่อภาษี แต่อาจจะมีความต้องการใช้ประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางในระยะเวลาสั้นๆ เช่น คนที่จะต้องใช้รถสำหรับเดินทางไกลในวันหยุดยาว หรือ คนที่ปกติในชีวิตประจำวันใช้รถน้อย ต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้า แต่มีบางช่วงเวลาที่มีความจำเป็นที่มีความถี่ในการใช้รถเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ดังนั้นเราจึงมองเห็นโอกาสในการขยายตลาดประกันรถยนต์สำหรับลูกค้ากลุ่มทางเลือก ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้เบาลง มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เราจึงเสนอผลิตภัณฑ์ประกันให้ตรงความต้องการของลูกค้าให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมคุ้มค่ามากที่สุด
“ประกันรถยนต์ระยะสั้น” รับประกันภัย โดย บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ CHUBB เป็นประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครอง 30 วัน นับจากวันเริ่มคุ้มครองโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประกันภัยรถยนต์ประเภท ชั้น 1 และ ชั้น 2+ เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 650 บาท ด้วยความคุ้มครองแบบจัดเต็ม คุ้มครองทั้งรถคุณและรถคู่กรณี ครอบคลุมถึงกรณีรถหาย ไฟไหม้ พร้อมระบบแจ้งเตือนต่ออายุอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้พลาดหากต้องการคุ้มต่อเนื่อง การรับประกัน โดยประกันภัยรถยนต์ประเภท ชั้น 1 รับประกันอายุรถถึง 12 ปี และประกันภัยรถยนต์ประเภท ชั้น 2+ รับประกันอายุรถถึง 25 ปี ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์

Go To Lead


[ENGLISH] 
  --  
iClickNews.com