Education/Health
Hot News: MedPark ยืนแนวหน้าโรงพยาบาลไทย
http://www.tviclick.com
Home Page iClick News.com
Home
Print this webpage
Print
English Version
English
MedPark ยืนแนวหน้าโรงพยาบาลไทย
จากการจัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2025 โดยนิตยสาร Newsweek โรงพยาบาลเมดพาร์ค ยังคงติดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในประเทศไทย ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 4 แล้วที่โรงพยาบาลเมดพาร์คถูกจัดอันดับให้อยู่ในแนวหน้าของโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศไทย โดยในการจัดอันดับครั้งนี้ โรงพยาบาลเมดพาร์คถูกจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 6 และมีคะแนน 81% ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาราว 5% เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาบริการทางการแพทย์ในระดับสูงอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้บริการ
การจัดอันดับ World Best Hospital ถูกจัดโดย Newsweek นิตยสารชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับบริษัท Statista Inc. บริษัทสำรวจวิจัยข้อมูลและรวบรวมสถิติระดับโลก ได้ทำการสำรวจโรงพยาบาลกว่า 2,400 แห่งใน 30 ประเทศจากทั่วโลก เพื่อจัดอันดับเฟ้นหาโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก และได้ทำการจัดอันดับ 30 โรงพยาบาลในประเทศไทย จากการประเมินความเห็นจากผู้ชำนาญทางการแพทย์ ที่ทำงานในโรงพยาบาลกว่า 85,000 คน ทั่วโลก และประเมินจากความพึงพอใจจากประสบการณ์จริงของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา

Go To Lead


'รพ.นวเวช' ก้าวสู่ปีที่ 5
เดินหน้ายุทธศาสตร์ ปี 68L
นายณัฐพล เดชวิทักษ์ กรรมการ บริษัท นวเวช อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โรงพยาบาลนวเวชวางเป้าหมายเป็นโรงพยาบาลที่ชุมชนไว้วางใจและให้ความเชื่อมั่น พร้อมตั้งเป้าหมายต่อไปในการเป็นโรงพยาบาลที่ช่วยดูแลและส่งเสริมสุขภาพให้กับเพื่อนบ้านแบบครบวงจรทั้งสามเจน คือ รุ่นเด็ก รุ่นพ่อแม่ และรุ่นปู่ย่าตายาย ที่ผ่านมาเราจึงเดินหน้าพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้นวเวชขับเคลื่อนสู่การเป็นโรงพยาบาลที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน โดยปี 2568 โรงพยาบาลก้าวสู่ปีที่ 5 ได้ประกาศแคมเปญ “Healthy Neighborhood by Navavej: สุขภาพดีเพราะมีหมอเป็นเพื่อนบ้าน” เพื่อตอกย้ำความพร้อมในการดูแลและส่งมอบบริการด้านสุขภาพและการแพทย์แบบองค์รวมที่เข้าใจผู้ใช้บริการมากขึ้น โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ 6 เขตรอบโรงพยาบาล ได้แก่ เขตบึงกุ่ม คลองสามวา ลาดพร้าว คันนายาว บางเขน และบางกะปิ ให้เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปรับการรักษาจากโรงพยาบาลที่ไกลจากที่พักอาศัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
"โรงพยาบาลนวเวชได้วางยุทธศาสตร์หลักเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการรักษาและการบริการ ด้วยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ ความเป็นเลิศด้านการรักษา (Clinical Excellence) ความเป็นเลิศด้านการให้บริการ (Service Excellence) ความสามารถขององค์กรในการบริหารจัดการ (Corporate Efficiency) และการพัฒนาศักยภาพขององค์กรและบุคลากร (Knowledge Management and Competency Development) ส่งผลให้ในปัจจุบัน โรงพยาบาลนวเวชมีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยและมีทีมแพทย์เฉพาะทางดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นแผนกบริการผู้ป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุ แผนกสุขภาพผู้หญิง แผนกสุขภาพเด็ก แผนกหัวใจและทรวงอก และแผนกโรคระบบสมอง อีกทั้งโรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับการลงทุนเรื่องเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการรักษาให้กับผู้เข้าใช้บริการทุกท่านที่เปรียบเสมือนเพื่อนบ้านเพื่อให้มีสุขภาพดี อุ่นใจไปกับทีมแพทย์ พยาบาล ที่พร้อมให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง" นายณัฐพล กล่าวและว่า
สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โรงพยาบาลนวเวชมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2567 เติบโตมากกว่า 30% โดยเฉพาะกลุ่มแม่และเด็กที่มีอัตราผู้เข้าใช้บริการมากที่สุด และจากการสำรวจพบว่าผู้เข้าใช้บริการกว่า 90% มีความประทับใจและพึงพอใจในบริการ และกลับมาใช้บริการรักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยซ้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยส่งเสริมด้านทำเลที่ตั้งของนวเวชที่อยู่ใจกลางย่านที่อยู่อาศัยของครอบครัวคนรุ่นใหม่ โรงพยาบาลนวเวชจึงคาดการณ์ว่าจะมีผลประกอบการณ์เติบโตต่อเนื่องในปี 2568 และมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยโลเคชันที่ได้เปรียบ มีการวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนมากด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่หลากหลายสาขาความชำนาญ พร้อมด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและบริการที่มีคุณภาพ สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการ ทำให้ตอบโจทย์และบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ที่จะเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับความเชื่อมั่นและได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชนในการเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

Go To Lead


สธ. ตั้งเป้าเด็กแรกเกิด กินนมแม่ 6 เดือนแรก
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือ ทารกแรกเกิดได้กินนมแม่ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และกินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต รวมทั้ง กินนมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่อาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กทุกช่วงวัย เปรียบเสมือนวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่หยดแรก เพราะในน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่สามารถหาได้จากอาหารอื่นและช่วยลดภาวะทุพโภชนาการของเด็ก อีกทั้งเป็นการถักทอสายใยความผูกพันจากแม่สู่ลูก ส่งผลดีต่อพัฒนาการทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โครงการนี้นับเป็นหนึ่งโครงการสำคัญที่มีส่วนช่วยให้เด็กไทยไม่เสียโอกาสในการกินนมแม่และผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนอย่างน้อยร้อยละ 50 ได้สำเร็จ
นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ปี 2565 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พบว่ามีเด็กแรกเกิดเพียงร้อยละ 29.4 ได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และมีเพียงร้อยละ 28.6 ที่ได้กินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และยังมีเด็กเพียงร้อยละ 18.7 ที่ได้กินนมแม่ต่อเนื่องถึง 2 ปี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ที่กรมอนามัยและภาคีเครือข่ายต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการสนับสนุนและปกป้องให้เด็กไทยทุกคนได้กินนมแม่ ตามสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เพื่ออนาคตของประเทศไทย โดยในปัจจุบันสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยม ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้แม่ที่ต้องทำงาน ยังคงสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง

Go To Lead


สมศ. เน้นย้ำการประเมินคุณภาพภายนอก ปี 67-71
ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เปิดเผยในการประชุมรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) โดยเน้นย้ำเรื่อง “แนวคิดและทิศทางการประกันคุณภาพภายนอก” ว่า หลักการสำคัญของ (ร่าง) กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกที่จะนำมาใช้ในสถานศึกษาสังกัด สกร. มีเป้าหมายหลักคือ “การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)” มากกว่าการมุ่งเน้นเพียงการตรวจสอบและให้คะแนน หนึ่งในข้อสังเกตสำคัญของระบบการประกันคุณภาพในอดีตคือการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานและตัวชี้วัดบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างภาระให้สถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา
ทั้งนี้ การประเมินคุณภาพภายนอกปี 2567- 2571 สมศ. จึงมุ่งพัฒนาเกณฑ์การประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจาก Paper-based สู่ Digital-based รวมถึงปฏิรูปการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา โดยลดทอนจำนวนวันในการประเมินเหลือเพียง 1-2 วัน ตามบริบทของสถานศึกษา พร้อมนำรูปแบบการประเมินแบบ Virtual Visit (การประเมิน Online) เพื่อลดภาระของสถานศึกษาในการจัดเตรียมเอกสารและการต้อนรับต่างๆ ถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการประกันคุณภาพให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้อย่างยั่งยืน โดยการประกันคุณภาพภายนอกจะเป็นหลักประกันให้ผู้เรียนและสังคมมีความมั่นใจว่าจะได้รับบริการจากสถานศึกษาที่ได้มาตรฐาน และเป็นการช่วยให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณภาพการศึกษาของไทยเผชิญกับความท้าทายทั้งจากความแตกต่างของบริบทในเมืองและชนบท รวมถึงการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

Go To Lead


จุฬาฯ ร่วมแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจพัฒนาเมือง
องค์การพัฒนาเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency, UR) ได้ทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาเมืองและการส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ ทั้งนี้ UR เป็นองค์กรสาธารณะของญี่ปุ่นที่สนับสนุนด้านการพัฒนาเมือง เช่น การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งทางราง (TOD*) ในประเทศต่าง ๆ อาทิ ออสเตรเลีย ไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการดำเนินงานของ UR เป็นไปตาม ‘กฎหมายว่าด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ’ ซึ่งประกาศใช้ในปี 2561 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
โดยในครั้งนี้ UR ได้แลกเปลี่ยน MOU กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยติดอันดับท็อปของเอเชีย ซึ่งการแลกเปลี่ยน MOU ในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาเมืองร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ลดการขยายตัวของเมืองอย่างไม่เป็นระบบ และผลักดันการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ โดย UR จะใช้ ‘ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองมามากกว่า 500** โครงการในประเทศญี่ปุ่น’ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ‘ความสามารถในการศึกษาวิจัย และมีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเมืองและการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ในประเทศไทย’ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนในการร่วมมือกันจัดฟอรั่มในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นก้าวแรกของความร่วมมืออีกด้วย

Go To Lead


[ENGLISH] 
  --  
iClickNews.com